คำถามที่พบบ่อย

Q

ทดสอบการอัพโหลดไฟล์รูป

ทดสอบการอัพโหลดไฟล์รูป

A

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ
Q

คำถามที่ไม่มีคำตอบ

คำถามที่ไม่มีคำตอบ

A
Q

คำถาม 1

คำถาม 1

A

คำตอบ 1

คำตอบ 1

Q

เลือกตั้งนอกราชอาณาจักร : ทำไมคนไทยในต่างประเทศต้องไปใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร

เลือกตั้งนอกราชอาณาจักร : ทำไมคนไทยในต่างประเทศต้องไปใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร

A

-  เป็นสิทธิและหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ (มาตรา 72 , 87 และ 99)

 -  ป้องกันการทุจริตไม่ให้ผู้อื่นมาสวมสิทธิแทนได้

 -  เป็นการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองและแสดงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน    ตามหลักการประชาธิปไตย

-  เป็นสิทธิและหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ (มาตรา 72 , 87 และ 99)

 -  ป้องกันการทุจริตไม่ให้ผู้อื่นมาสวมสิทธิแทนได้

 -  เป็นการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองและแสดงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน    ตามหลักการประชาธิปไตย

Q

เลือกตั้งนอกราชอาณาจักร : ใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรจะเกิดประโยชน์แก่คนไทยในต่างประเทศอย่างไร

เลือกตั้งนอกราชอาณาจักร : ใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรจะเกิดประโยชน์แก่คนไทยในต่างประเทศอย่างไร

A

-  เป็นหนึ่งในโอกาสที่จะช่วยกันแก้ไขปัญหาและพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และประเทศ ผ่านครรลองทางประชาธิปไตยที่รัฐธรรมนูญได้เปิดโอกาสให้กับคนไทยที่อาศัยอยู่นอกราชอาณาจักร

                  -  หนึ่งคะแนนเสียงในมือจะนำไปสู่การรับรู้ถึงตัวตนของชุมชนไทยในต่างแดน และ  ต่อยอดไปถึงการจัดสรรงบประมาณและการส่งเสริมกิจกรรมต่าง ๆ จากรัฐบาลไทย

                   -  เป็นการเผยแพร่ค่านิยมประชาธิปไตยของคนไทยให้รัฐบาลและคนในท้องถิ่นได้รับรู้ และตระหนักถึงการมีตัวตนของชุมชนไทย

                   -  ทำหน้าที่พลเมืองไทยตามรัฐธรรมนูญ และมีส่วนร่วมกำหนดทิศทางของประเทศ

                   -  เป็นโอกาสพบปะพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และเสริมสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่าง   คนไทยด้วยกัน และคนไทยกับสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่

                   -  การไม่ไปใช้สิทธิอาจนำไปสู่การผลักดันให้แก้ไขกฎหมายเพื่อตัดสิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร เนื่องจากไม่มีการตอบรับเพียงพอที่คุ้มค่ากับงบประมาณ และการไม่รับรู้ถึงตัวตนและความสำคัญของชุมชนไทยในต่างประเทศ

-  เป็นหนึ่งในโอกาสที่จะช่วยกันแก้ไขปัญหาและพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และประเทศ ผ่านครรลองทางประชาธิปไตยที่รัฐธรรมนูญได้เปิดโอกาสให้กับคนไทยที่อาศัยอยู่นอกราชอาณาจักร

                  -  หนึ่งคะแนนเสียงในมือจะนำไปสู่การรับรู้ถึงตัวตนของชุมชนไทยในต่างแดน และ  ต่อยอดไปถึงการจัดสรรงบประมาณและการส่งเสริมกิจกรรมต่าง ๆ จากรัฐบาลไทย

                   -  เป็นการเผยแพร่ค่านิยมประชาธิปไตยของคนไทยให้รัฐบาลและคนในท้องถิ่นได้รับรู้ และตระหนักถึงการมีตัวตนของชุมชนไทย

                   -  ทำหน้าที่พลเมืองไทยตามรัฐธรรมนูญ และมีส่วนร่วมกำหนดทิศทางของประเทศ

                   -  เป็นโอกาสพบปะพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และเสริมสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่าง   คนไทยด้วยกัน และคนไทยกับสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่

                   -  การไม่ไปใช้สิทธิอาจนำไปสู่การผลักดันให้แก้ไขกฎหมายเพื่อตัดสิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร เนื่องจากไม่มีการตอบรับเพียงพอที่คุ้มค่ากับงบประมาณ และการไม่รับรู้ถึงตัวตนและความสำคัญของชุมชนไทยในต่างประเทศ

Q

เลือกตั้งนอกราชอาณาจักร : อยากลงคะแนนเลือกตั้งในต่างประเทศล่วงหน้า ต้องทำอย่างไร

เลือกตั้งนอกราชอาณาจักร : อยากลงคะแนนเลือกตั้งในต่างประเทศล่วงหน้า ต้องทำอย่างไร

A

 1.  ลงทะเบียนด้วยตนเอง ที่สถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ /สำนักทะเบียนอำเภอ/สำนักทะเบียนท้องถิ่น  หรือ

                  2.  ติดต่อขอรับแบบคำร้องขอใช้สิทธิจากสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ /สำนักทะเบียนอำเภอ/สำนักทะเบียนท้องถิ่น โดยดาวน์โหลดแบบคำร้องจาก www.consular.go.th

3.   และกรอกข้อมูลจัดส่งไปยังสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ /สำนักทะเบียน

อำเภอ/สำนักทะเบียนท้องถิ่น โดย การลงทะเบียนทางไปรษณีย์ หรือ ทางโทรสาร หรือทำหนังสือมอบหมายให้บุคคลใดดำเนินการแทน

        ในการยื่นคำร้องขอใช้สิทธิ ต้องแนบเอกสารหรือสำเนาเอกสารหลักฐาน อย่างใดอย่าง

หนึ่งดังต่อไปนี้

  1.   บัตรประจำตัวประชาชน

  2.    หนังสือเดินทาง หรือ สำเนาหนังสือเดินทาง

  3.   บัตรประจำตัวที่มีภาพถ่ายและเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ที่ออกให้โดยทางราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือ องค์กรอิสระ

 1.  ลงทะเบียนด้วยตนเอง ที่สถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ /สำนักทะเบียนอำเภอ/สำนักทะเบียนท้องถิ่น  หรือ

                  2.  ติดต่อขอรับแบบคำร้องขอใช้สิทธิจากสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ /สำนักทะเบียนอำเภอ/สำนักทะเบียนท้องถิ่น โดยดาวน์โหลดแบบคำร้องจาก www.consular.go.th

3.   และกรอกข้อมูลจัดส่งไปยังสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ /สำนักทะเบียน

อำเภอ/สำนักทะเบียนท้องถิ่น โดย การลงทะเบียนทางไปรษณีย์ หรือ ทางโทรสาร หรือทำหนังสือมอบหมายให้บุคคลใดดำเนินการแทน

        ในการยื่นคำร้องขอใช้สิทธิ ต้องแนบเอกสารหรือสำเนาเอกสารหลักฐาน อย่างใดอย่าง

หนึ่งดังต่อไปนี้

  1.   บัตรประจำตัวประชาชน

  2.    หนังสือเดินทาง หรือ สำเนาหนังสือเดินทาง

  3.   บัตรประจำตัวที่มีภาพถ่ายและเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ที่ออกให้โดยทางราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือ องค์กรอิสระ

Q

เลือกตั้งนอกราชอาณาจักร : คนไทยในต่างประเทศสามารถหาข้อมูลการเลือกตั้งได้ที่ไหน

เลือกตั้งนอกราชอาณาจักร : คนไทยในต่างประเทศสามารถหาข้อมูลการเลือกตั้งได้ที่ไหน

A

สอบถามข้อมูลจากสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ 

สอบถามข้อมูลจากสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ 

Q

เลือกตั้งนอกราชอาณาจักร : แต่งงานกับสามีต่างชาติแล้ว จะมีสิทธิเลือกตั้งหรือไม่

เลือกตั้งนอกราชอาณาจักร : แต่งงานกับสามีต่างชาติแล้ว จะมีสิทธิเลือกตั้งหรือไม่

A

 -  ถ้าจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายของประเทศสามี และกฎหมายนั้นไม่ได้กำหนดให้คุณต้องสละสัญชาติไทย ถือว่ายังมีสัญชาติไทยอยู่และมีสิทธิเลือกตั้ง

                  -  ถ้าได้ยื่นคำขอสละสัญชาติและได้มีประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ถือว่าได้ สละสัญชาติไทยโดยสมบูรณ์ และขาดคุณสมบัติจึงไม่มีสิทธิเลือกตั้ง

 -  ถ้าจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายของประเทศสามี และกฎหมายนั้นไม่ได้กำหนดให้คุณต้องสละสัญชาติไทย ถือว่ายังมีสัญชาติไทยอยู่และมีสิทธิเลือกตั้ง

                  -  ถ้าได้ยื่นคำขอสละสัญชาติและได้มีประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ถือว่าได้ สละสัญชาติไทยโดยสมบูรณ์ และขาดคุณสมบัติจึงไม่มีสิทธิเลือกตั้ง

Q

เลือกตั้งนอกราชอาณาจักร : ถ้าหลบหนีเข้าเมืองทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาต หรืออยู่พำนักอย่างผิดกฎหมายของประเทศนั้น จะสามารถขอใช้สิทธิและลงคะแนนเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร ได้หรือไม่

เลือกตั้งนอกราชอาณาจักร : ถ้าหลบหนีเข้าเมืองทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาต หรืออยู่พำนักอย่างผิดกฎหมายของประเทศนั้น จะสามารถขอใช้สิทธิและลงคะแนนเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร ได้หรือไม่

A

สามารถใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรได้ไม่ว่าท่านจะเดินทางเข้าประเทศหรืออยู่พำนัก หรือทำงานอย่างผิดกฎหมายเพราะการเลือกตั้งเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายไทย ไม่มีผลต่อสถานะของท่านตามกฎหมายท้องถิ่น

สามารถใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรได้ไม่ว่าท่านจะเดินทางเข้าประเทศหรืออยู่พำนัก หรือทำงานอย่างผิดกฎหมายเพราะการเลือกตั้งเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายไทย ไม่มีผลต่อสถานะของท่านตามกฎหมายท้องถิ่น

Q

เลือกตั้งนอกราชอาณาจักร : เคยเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรตอนที่ทำงาน / ศึกษาอยู่แต่กำลังจะกลับบ้านแล้ว จะสามารถเลือกตั้งที่ประเทศไทยได้ตามปกติหรือไม่

เลือกตั้งนอกราชอาณาจักร : เคยเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรตอนที่ทำงาน / ศึกษาอยู่แต่กำลังจะกลับบ้านแล้ว จะสามารถเลือกตั้งที่ประเทศไทยได้ตามปกติหรือไม่

A

ไม่ได้ คุณต้องแจ้งขอถอนชื่อกลับไปใช้สิทธิที่ประเทศไทยที่สถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ ก่อนเดินทางกลับ หรือหากกลับประเทศไทยแล้วให้ไปแจ้งขอถอนชื่อที่สำนักงานเขต/อำเภอ หรือ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งจังหวัด

ไม่ได้ คุณต้องแจ้งขอถอนชื่อกลับไปใช้สิทธิที่ประเทศไทยที่สถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ ก่อนเดินทางกลับ หรือหากกลับประเทศไทยแล้วให้ไปแจ้งขอถอนชื่อที่สำนักงานเขต/อำเภอ หรือ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งจังหวัด

Q

เลือกตั้งนอกราชอาณาจักร : เงื่อนไขของการใช้สิทธิเลือกตั้งในต่างประเทศคืออะไร

เลือกตั้งนอกราชอาณาจักร : เงื่อนไขของการใช้สิทธิเลือกตั้งในต่างประเทศคืออะไร

A
  1.  เป็นผู้มีสัญชาติไทยหรือมีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี

  2.   เป็นผู้มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ในวันที่ 1 มกราคมของปีที่มีการเลือกตั้ง

  3. เป็นผู้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้ง (ในประเทศไทย) มาแล้วไม่น้อยกว่า 90 วัน นับถึงวันเลือกตั้ง

  1.  เป็นผู้มีสัญชาติไทยหรือมีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี

  2.   เป็นผู้มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ในวันที่ 1 มกราคมของปีที่มีการเลือกตั้ง

  3. เป็นผู้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้ง (ในประเทศไทย) มาแล้วไม่น้อยกว่า 90 วัน นับถึงวันเลือกตั้ง

Q

เลือกตั้งนอกราชอาณาจักร : หากไม่พบชื่อในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งต้องทำอย่างไร

เลือกตั้งนอกราชอาณาจักร : หากไม่พบชื่อในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งต้องทำอย่างไร

A

สำหรับผู้ลงทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรแล้วผู้ขอใช้สิทธิเลือกตั้ง

สามารถตรวจสอบว่าตนมีชื่อในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งหรือไม่ โดยตรวจสอบหรือสอบถามจากสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ หลังจากที่สถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ หรือทางอินเทอร์เน็ต

ติดประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร กรณีไม่พบชื่อในบัญชีรายชื่อ ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งยื่นคำร้องขอ เพิ่มชื่อ  ต่อสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ ก่อนวันแรกของวันลงคะแนน ไม่น้อยกว่า 5 วัน

สำหรับผู้ลงทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรแล้วผู้ขอใช้สิทธิเลือกตั้ง

สามารถตรวจสอบว่าตนมีชื่อในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งหรือไม่ โดยตรวจสอบหรือสอบถามจากสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ หลังจากที่สถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ หรือทางอินเทอร์เน็ต

ติดประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร กรณีไม่พบชื่อในบัญชีรายชื่อ ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งยื่นคำร้องขอ เพิ่มชื่อ  ต่อสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ ก่อนวันแรกของวันลงคะแนน ไม่น้อยกว่า 5 วัน

Q

เลือกตั้งนอกราชอาณาจักร : การขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรนั้นสามารถทำก่อนเดินทางไปต่างประเทศได้หรือไม่

เลือกตั้งนอกราชอาณาจักร : การขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรนั้นสามารถทำก่อนเดินทางไปต่างประเทศได้หรือไม่

A

ได้ โดยแจ้งที่สำนักทะเบียนอำเภอ/สำนักทะเบียนท้องถิ่น ประจำภูมิลำเนาที่ท่านมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน หากท่านเป็นแรงงานไทยที่กำลังจะเดินทางไปทำงานต่างประเทศ สามารถแจ้งได้ที่สำนักบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน (หากเดินทางออกไปจากประเทศไทยแล้ว สามารถแจ้งได้ที่สถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ของไทย)

ได้ โดยแจ้งที่สำนักทะเบียนอำเภอ/สำนักทะเบียนท้องถิ่น ประจำภูมิลำเนาที่ท่านมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน หากท่านเป็นแรงงานไทยที่กำลังจะเดินทางไปทำงานต่างประเทศ สามารถแจ้งได้ที่สำนักบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน (หากเดินทางออกไปจากประเทศไทยแล้ว สามารถแจ้งได้ที่สถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ของไทย)

Q

เลือกตั้งนอกราชอาณาจักร : ถ้าย้ายออกจากประเทศที่ได้ยื่นขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรไว้ และต้องการไปใช้สิทธิเลือกตั้งในประเทศที่อยู่ใหม่ ต้องทำอย่างไร

เลือกตั้งนอกราชอาณาจักร : ถ้าย้ายออกจากประเทศที่ได้ยื่นขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรไว้ และต้องการไปใช้สิทธิเลือกตั้งในประเทศที่อยู่ใหม่ ต้องทำอย่างไร

A

ท่านต้องแจ้งขอ “เปลี่ยนแปลงสถานที่ใช้สิทธิ” กับสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ที่ท่านลงทะเบียนไว้ หรือสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ ในประเทศที่ท่านย้ายไปอยู่ใหม่ก็ได้ หรือแจ้งได้ที่สำนักทะเบียนอำเภอ/สำนักทะเบียนท้องถิ่น ประจำภูมิลำเนาที่ท่านมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน หรือที่สำนักบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ กระทรวงแรงงาน

ท่านต้องแจ้งขอ “เปลี่ยนแปลงสถานที่ใช้สิทธิ” กับสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ที่ท่านลงทะเบียนไว้ หรือสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ ในประเทศที่ท่านย้ายไปอยู่ใหม่ก็ได้ หรือแจ้งได้ที่สำนักทะเบียนอำเภอ/สำนักทะเบียนท้องถิ่น ประจำภูมิลำเนาที่ท่านมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน หรือที่สำนักบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ กระทรวงแรงงาน

Q

เลือกตั้งนอกราชอาณาจักร : ถ้าย้ายกลับประเทศไทยต้องทำอย่างไร

เลือกตั้งนอกราชอาณาจักร : ถ้าย้ายกลับประเทศไทยต้องทำอย่างไร

A

หากท่านกำลังจะย้ายกลับประเทศไทย สามารถแจ้งขอถอนชื่อได้ตามวิธีดังต่อไปนี้   

                     1.  สามารถแจ้งถอนชื่อได้ที่สถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ หรือดาวน์โหลดแบบคำร้องจาก www.consular.go.th/main/contents/filemanager/election.pdf แบบฟอร์มขอใช้สิทธิ/เปลี่ยนแปลงสิทธิเลือกตั้ง และกรอกข้อมูลจัดส่งไปยังสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่โดยทางไปรษณีย์ หรือ ทางโทรสาร

                     2.  หากกลับประเทศไทยแล้วสามารถแจ้งถอนชื่อได้ที่สำนักทะเบียนอำเภอ/สำนักทะเบียนท้องถิ่น

หากท่านกำลังจะย้ายกลับประเทศไทย สามารถแจ้งขอถอนชื่อได้ตามวิธีดังต่อไปนี้   

                     1.  สามารถแจ้งถอนชื่อได้ที่สถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ หรือดาวน์โหลดแบบคำร้องจาก www.consular.go.th/main/contents/filemanager/election.pdf แบบฟอร์มขอใช้สิทธิ/เปลี่ยนแปลงสิทธิเลือกตั้ง และกรอกข้อมูลจัดส่งไปยังสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่โดยทางไปรษณีย์ หรือ ทางโทรสาร

                     2.  หากกลับประเทศไทยแล้วสามารถแจ้งถอนชื่อได้ที่สำนักทะเบียนอำเภอ/สำนักทะเบียนท้องถิ่น

Q

เลือกตั้งนอกราชอาณาจักร : ถ้าลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรไว้ แต่ไม่ได้ไปใช้สิทธิ จะหมดโอกาสใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรครั้งต่อไปหรือไม่

เลือกตั้งนอกราชอาณาจักร : ถ้าลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรไว้ แต่ไม่ได้ไปใช้สิทธิ จะหมดโอกาสใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรครั้งต่อไปหรือไม่

A

ไม่ เพราะการไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งครั้งนี้ ไม่เป็นเหตุให้ท่านเสียสิทธิในการเลือกตั้ง

นอกราชอาณาจักรครั้งถัดไป แต่จะเสียสิทธิดังต่อไปนี้

1. สิทธิยื่นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา

2. สิทธิสมัครรับเลือกตั้งและสิทธิได้รับการเสนอชื่อเข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น

3. สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นกำนันและผู้ใหญ่บ้านตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะการปกครองท้องที่

นับตั้งแต่วันที่ไม่ไปเลือกตั้ง จนถึงวันที่ท่านไปใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรครั้งต่อไป ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) www.ect.go.th

ไม่ เพราะการไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งครั้งนี้ ไม่เป็นเหตุให้ท่านเสียสิทธิในการเลือกตั้ง

นอกราชอาณาจักรครั้งถัดไป แต่จะเสียสิทธิดังต่อไปนี้

1. สิทธิยื่นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา

2. สิทธิสมัครรับเลือกตั้งและสิทธิได้รับการเสนอชื่อเข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น

3. สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นกำนันและผู้ใหญ่บ้านตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะการปกครองท้องที่

นับตั้งแต่วันที่ไม่ไปเลือกตั้ง จนถึงวันที่ท่านไปใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรครั้งต่อไป ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) www.ect.go.th

Q

เลือกตั้งนอกราชอาณาจักร : ถ้าไม่มีสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ของไทยในประเทศหรือเมืองที่อยู่ จะเลือกตั้งได้อย่างไร

เลือกตั้งนอกราชอาณาจักร : ถ้าไม่มีสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ของไทยในประเทศหรือเมืองที่อยู่ จะเลือกตั้งได้อย่างไร

A

ประเทศไทยมีสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ 92 แห่ง  ทั่วโลก ซึ่งดูแลครอบคลุมประเทศต่าง ๆ กว่า 67 ประเทศ ดังนั้น จึงเชื่อได้ว่าประเทศที่ท่านอาศัยอยู่นั้น จะอยู่ภายใต้การดูแลของสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ แห่งใดแห่งหนึ่งแน่ ดังนั้น ขอให้ท่านโปรดติดต่อสอบถามสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ ที่ท่านสะดวกเพื่อลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้ง และแจ้งที่อยู่ของท่านในต่างประเทศให้ถูกต้องและชัดเจน เพื่อที่สถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ จะได้ติดต่อแจ้งข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเลือกตั้งให้ท่านทราบได้ ทั้งนี้ ท่านสามารถติดตามข่าวสารดังกล่าวทางสื่อต่าง ๆ เพื่อจะได้รับทราบข้อมูลและความเคลื่อนไหวต่าง ๆ อยู่เสมอ

                สำหรับการใช้สิทธิเลือกตั้งฯ นั้น สถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ จะอำนวยความสะดวกโดยท่านอาจใช้สิทธิเลือกตั้งทางไปรษณีย์ หรือจัดหน่วยเลือกตั้งสัญจรเดินทางมายังเมืองที่ท่านอาศัยอยู่ก็ได้

ประเทศไทยมีสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ 92 แห่ง  ทั่วโลก ซึ่งดูแลครอบคลุมประเทศต่าง ๆ กว่า 67 ประเทศ ดังนั้น จึงเชื่อได้ว่าประเทศที่ท่านอาศัยอยู่นั้น จะอยู่ภายใต้การดูแลของสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ แห่งใดแห่งหนึ่งแน่ ดังนั้น ขอให้ท่านโปรดติดต่อสอบถามสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ ที่ท่านสะดวกเพื่อลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้ง และแจ้งที่อยู่ของท่านในต่างประเทศให้ถูกต้องและชัดเจน เพื่อที่สถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ จะได้ติดต่อแจ้งข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเลือกตั้งให้ท่านทราบได้ ทั้งนี้ ท่านสามารถติดตามข่าวสารดังกล่าวทางสื่อต่าง ๆ เพื่อจะได้รับทราบข้อมูลและความเคลื่อนไหวต่าง ๆ อยู่เสมอ

                สำหรับการใช้สิทธิเลือกตั้งฯ นั้น สถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ จะอำนวยความสะดวกโดยท่านอาจใช้สิทธิเลือกตั้งทางไปรษณีย์ หรือจัดหน่วยเลือกตั้งสัญจรเดินทางมายังเมืองที่ท่านอาศัยอยู่ก็ได้

Q

เลือกตั้งนอกราชอาณาจักร : หากมีเหตุไปใช้สิทธิเลือกตั้งไม่ได้ต้องทำอย่างไร

เลือกตั้งนอกราชอาณาจักร : หากมีเหตุไปใช้สิทธิเลือกตั้งไม่ได้ต้องทำอย่างไร

A

มีสิทธิเลือกตั้งที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ให้แจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งโดยทำเป็นหนังสือถึงเอกอัครราชทูตหรือกงสุลใหญ่

-  ด้วยตนเอง หรือ

-  ทางไปรษณีย์ หรือ

-  ทางโทรสาร หรือ

ทำหนังสือมอบหมาย ให้ผู้อื่นดำเนินการแทน ภายในกำหนดระยะเวลา ดังนี้

1.             แจ้งก่อนและหลังวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 7 วัน

2.             แจ้งภายใน 60 วัน นับแต่วันที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศรายชื่อผู้ที่ไม่ไปเลือกตั้งและมิได้แจ้งเหตุตามข้อ 1 หรือ แจ้งเหตุไว้แล้วแต่เหตุนั้นไม่ใช่เหตุอันสมควร

มีสิทธิเลือกตั้งที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ให้แจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งโดยทำเป็นหนังสือถึงเอกอัครราชทูตหรือกงสุลใหญ่

-  ด้วยตนเอง หรือ

-  ทางไปรษณีย์ หรือ

-  ทางโทรสาร หรือ

ทำหนังสือมอบหมาย ให้ผู้อื่นดำเนินการแทน ภายในกำหนดระยะเวลา ดังนี้

1.             แจ้งก่อนและหลังวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 7 วัน

2.             แจ้งภายใน 60 วัน นับแต่วันที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศรายชื่อผู้ที่ไม่ไปเลือกตั้งและมิได้แจ้งเหตุตามข้อ 1 หรือ แจ้งเหตุไว้แล้วแต่เหตุนั้นไม่ใช่เหตุอันสมควร

Q

เลือกตั้งนอกราชอาณาจักร : ถ้าต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรสามารถติดต่อได้ ที่ไหน

เลือกตั้งนอกราชอาณาจักร : ถ้าต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรสามารถติดต่อได้ ที่ไหน

A

หากท่านมีข้อสงสัยและต้องการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร สามารถติดต่อได้ที่

     1. ศูนย์ประสานงาการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร กรมการกงสุล โทร. 02-203-5000 ต่อ 48001-48008 E-mail : overseas22@ymail.com

     2. สถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ 92 แห่ง ทั่วโลก (ที่อยู่ติดต่อโปรด คลิก ที่นี่)

     3.  สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง โทร. 02-141-8888 E-mail : dav@ect.go.th

หากท่านมีข้อสงสัยและต้องการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร สามารถติดต่อได้ที่

     1. ศูนย์ประสานงาการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร กรมการกงสุล โทร. 02-203-5000 ต่อ 48001-48008 E-mail : overseas22@ymail.com

     2. สถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ 92 แห่ง ทั่วโลก (ที่อยู่ติดต่อโปรด คลิก ที่นี่)

     3.  สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง โทร. 02-141-8888 E-mail : dav@ect.go.th

Q

คุ้มครองและดูแลผลประโยชน์ : หากมีผู้ชักชวนไปทำงานต่างประเทศ ควรตรวจสอบอย่างไร ?

คุ้มครองและดูแลผลประโยชน์ : หากมีผู้ชักชวนไปทำงานต่างประเทศ ควรตรวจสอบอย่างไร ?

A

ในขณะนี้ยังมีการหลอกลวงคนไทยไปทำงานอย่างผิดกฏหมายในต่างประเทศ โดยเฉพาะโดยขบวนการค้ามนุษย์ข้ามชาติ ซึ่งรวมทั้งที่ไปทำงานทั่วไป และที่เป็นการชักนำ หรือหลอกลวงไปค้าประเวณี ดังนั้น ในเบื้องต้นควรที่จะมีข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับผู้ชักชวน เพื่อพิจารณาว่าเชื่อถือได้เพียงใด นอกจากนั้น จะต้องมีความชัดเจนเกี่ยวกับงานที่จะไปทำ โดยสามารถตรวจสอบได้จากกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม หรือสำนักงานแรงงานทั่วประเทศ และกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ นอกจากนั้นเป็นข้อสังเกตว่า ในกรณีที่หลอกลวงไปค้าประเวณีผู้หลอกลวงมักจะเสนอที่จะออกค่าใช้จ่ายในการเดินทางให้ก่อน แล้วไปใช้หนี้ภายหลังซึ่งที่สุดแล้วผู้ที่ถูกหลอกลวงจะต้องใช้ตัวเองปลดหนี้

ในขณะนี้ยังมีการหลอกลวงคนไทยไปทำงานอย่างผิดกฏหมายในต่างประเทศ โดยเฉพาะโดยขบวนการค้ามนุษย์ข้ามชาติ ซึ่งรวมทั้งที่ไปทำงานทั่วไป และที่เป็นการชักนำ หรือหลอกลวงไปค้าประเวณี ดังนั้น ในเบื้องต้นควรที่จะมีข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับผู้ชักชวน เพื่อพิจารณาว่าเชื่อถือได้เพียงใด นอกจากนั้น จะต้องมีความชัดเจนเกี่ยวกับงานที่จะไปทำ โดยสามารถตรวจสอบได้จากกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม หรือสำนักงานแรงงานทั่วประเทศ และกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ นอกจากนั้นเป็นข้อสังเกตว่า ในกรณีที่หลอกลวงไปค้าประเวณีผู้หลอกลวงมักจะเสนอที่จะออกค่าใช้จ่ายในการเดินทางให้ก่อน แล้วไปใช้หนี้ภายหลังซึ่งที่สุดแล้วผู้ที่ถูกหลอกลวงจะต้องใช้ตัวเองปลดหนี้

Q

คุ้มครองและดูแลผลประโยชน์ : ในกรณีที่ได้รับความเดือดร้อนในต่างประเทศหากมีค่าใช้จ่ายจะต้องรับผิดชอบหรือไม่ เพียงใด ?

คุ้มครองและดูแลผลประโยชน์ : ในกรณีที่ได้รับความเดือดร้อนในต่างประเทศหากมีค่าใช้จ่ายจะต้องรับผิดชอบหรือไม่ เพียงใด ?

A

เป็นหลักปฏิบัติทั่วไป และเป็นสากลว่า ผู้ที่เดินทางไปต่างประเทศจะต้องรับผิดชอบตัวเองเป็นอันดับแรก อย่างไรก็ดีกรณีฉุกเฉิน และไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ รวมทั้งญาติ พี่น้องในประเทศไทยมีฐานะยากจนไม่สามารถรับผิดชอบค่าใช้จ่ายได้ รัฐบาลมีแนวปฏิบัติที่จะทดรองจ่ายค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นไปก่อน โดยญาติ พี่น้อง  หรือตัวผู้ตกทุกข์ได้ยากในต่างประเทศจะต้องทำหนังสือสัญญารับสภาพหนี้ และหนังสือสัญญาชดใช้เงินคืน ไว้กับทางราชการภายในขอบเขต  และหลักเกณฑ์ของระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือคนไทยในต่างประเทศ พ.ศ. 2541  ทั้งนี้  ไม่รวมค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการฟ้องร้องทางแพ่ง  เช่นการจ้างทนายความ หรือค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับคดีดังกล่าว

เป็นหลักปฏิบัติทั่วไป และเป็นสากลว่า ผู้ที่เดินทางไปต่างประเทศจะต้องรับผิดชอบตัวเองเป็นอันดับแรก อย่างไรก็ดีกรณีฉุกเฉิน และไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ รวมทั้งญาติ พี่น้องในประเทศไทยมีฐานะยากจนไม่สามารถรับผิดชอบค่าใช้จ่ายได้ รัฐบาลมีแนวปฏิบัติที่จะทดรองจ่ายค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นไปก่อน โดยญาติ พี่น้อง  หรือตัวผู้ตกทุกข์ได้ยากในต่างประเทศจะต้องทำหนังสือสัญญารับสภาพหนี้ และหนังสือสัญญาชดใช้เงินคืน ไว้กับทางราชการภายในขอบเขต  และหลักเกณฑ์ของระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือคนไทยในต่างประเทศ พ.ศ. 2541  ทั้งนี้  ไม่รวมค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการฟ้องร้องทางแพ่ง  เช่นการจ้างทนายความ หรือค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับคดีดังกล่าว

Q

คุ้มครองและดูแลผลประโยชน์ : หากเดินทางไปพำนักต่างประเทศระยะยาว ควรปฏิบัติเช่นใด เมื่อเดินทางไปถึง ?

คุ้มครองและดูแลผลประโยชน์ : หากเดินทางไปพำนักต่างประเทศระยะยาว ควรปฏิบัติเช่นใด เมื่อเดินทางไปถึง ?

A

ผู้ที่จะไปพำนักในต่างประเทศควรปฏิบัติดังนี้ 1. ไปรายงานตัวต่อสถานเอกอัครราชทูต หรือสถานกงสุลใหญ่ไทยในประเทศ / เมือง นั้น เพื่อประโยชน์ของตัวท่านเอง ในกรณีที่ทางราชการไทยจะส่งข่าวคราว หรือการแจ้งเตือนใดๆ  2. จดหมายเลขโทรศัพท์ Hotline ของสถานเอกอัครราชทูต หรือสถานกงสุลใหญ่ไทย

ผู้ที่จะไปพำนักในต่างประเทศควรปฏิบัติดังนี้ 1. ไปรายงานตัวต่อสถานเอกอัครราชทูต หรือสถานกงสุลใหญ่ไทยในประเทศ / เมือง นั้น เพื่อประโยชน์ของตัวท่านเอง ในกรณีที่ทางราชการไทยจะส่งข่าวคราว หรือการแจ้งเตือนใดๆ  2. จดหมายเลขโทรศัพท์ Hotline ของสถานเอกอัครราชทูต หรือสถานกงสุลใหญ่ไทย

Q

คำถามอื่นๆเกี่ยวกับสัญชาติและนิติกรณ์ : หลังจากชำระค่าธรรมเนียมรับรองเอกสารแล้ว สามารถขอรับค่าธรรมเนียมคืนได้หรือไม่

คำถามอื่นๆเกี่ยวกับสัญชาติและนิติกรณ์ : หลังจากชำระค่าธรรมเนียมรับรองเอกสารแล้ว สามารถขอรับค่าธรรมเนียมคืนได้หรือไม่

A

- สามารถขอรับค่าธรรมเนียมคืนได้  แต่จะต้องดำเนินการขอคืนค่าธรรมเนียมภายในวันที่ยื่นคำร้อง

- สามารถขอรับค่าธรรมเนียมคืนได้  แต่จะต้องดำเนินการขอคืนค่าธรรมเนียมภายในวันที่ยื่นคำร้อง

Q

คำถามอื่นๆเกี่ยวกับสัญชาติและนิติกรณ์ : จะนำ Certificate of Origin (C/O) และ Invoice มารับรอง จะต้องนำอะไรมาบ้าง ?

คำถามอื่นๆเกี่ยวกับสัญชาติและนิติกรณ์ : จะนำ Certificate of Origin (C/O) และ Invoice มารับรอง จะต้องนำอะไรมาบ้าง ?

A

เอกสาร C/O , Invoice  จะต้องผ่านการรับรองจากหอการค้าไทยก่อนที่จะนำไปให้กองสัญชาติฯ รับรองเอกสาร โดยมีเอกสารประกอบเพื่อยื่นขอรับรองนิติกรณ์เอกสารดังนี้

1.หนังสือมอบอำนาจจากกรรมการบริษัท ติดอากรแสตมป์ 10 บาท
2. สำเนาหนังสือรับรองบริษัท อายุไม่เกิน 6 เดือน พร้อมประทับตราบริษัทและรับรองสำเนาถูกต้องโดยกรรมการบริษัท
3. สำเนาบัตรประชาชนผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ

เอกสาร C/O , Invoice  จะต้องผ่านการรับรองจากหอการค้าไทยก่อนที่จะนำไปให้กองสัญชาติฯ รับรองเอกสาร โดยมีเอกสารประกอบเพื่อยื่นขอรับรองนิติกรณ์เอกสารดังนี้

1.หนังสือมอบอำนาจจากกรรมการบริษัท ติดอากรแสตมป์ 10 บาท
2. สำเนาหนังสือรับรองบริษัท อายุไม่เกิน 6 เดือน พร้อมประทับตราบริษัทและรับรองสำเนาถูกต้องโดยกรรมการบริษัท
3. สำเนาบัตรประชาชนผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ

Q

คำถามอื่นๆเกี่ยวกับสัญชาติและนิติกรณ์ : เอกสารที่บริษัทเอกชนทั่วไปออกเองเพื่อนำไปใช้ในต่างประเทศ เช่น หนังสือมอบอำนาจ จะต้องรับรองอย่างไร ?

คำถามอื่นๆเกี่ยวกับสัญชาติและนิติกรณ์ : เอกสารที่บริษัทเอกชนทั่วไปออกเองเพื่อนำไปใช้ในต่างประเทศ เช่น หนังสือมอบอำนาจ จะต้องรับรองอย่างไร ?

A

กองสัญชาติฯ จะรับรองลายมือชื่อกรรมการบริษัทที่ลงนามในเอกสาร โดยกรรมการบริษัทผู้นั้นจะต้องมาลงนามต่อหน้าที่เจ้าหน้าที่กองสัญชาติฯ พร้อมเอกสารประกอบ คือ สำเนาหนังสือรับรองบริษัท อายุไม่เกิน 6 เดือน และบัตรประจำตัวประชาชนหรือหนังสือเดินทางฉบับจริง พร้อมสำเนา   กรณีชาวต่างชาติให้ใช้หนังสือเดินทาง พร้อมสำเนา

กองสัญชาติฯ จะรับรองลายมือชื่อกรรมการบริษัทที่ลงนามในเอกสาร โดยกรรมการบริษัทผู้นั้นจะต้องมาลงนามต่อหน้าที่เจ้าหน้าที่กองสัญชาติฯ พร้อมเอกสารประกอบ คือ สำเนาหนังสือรับรองบริษัท อายุไม่เกิน 6 เดือน และบัตรประจำตัวประชาชนหรือหนังสือเดินทางฉบับจริง พร้อมสำเนา   กรณีชาวต่างชาติให้ใช้หนังสือเดินทาง พร้อมสำเนา

Q

คำถามอื่นๆเกี่ยวกับสัญชาติและนิติกรณ์ : บัตรประชาชนมีอายุกี่ปี

คำถามอื่นๆเกี่ยวกับสัญชาติและนิติกรณ์ : บัตรประชาชนมีอายุกี่ปี

A

6  ปี (แต่บางกรณีมีอายุเกินกว่า 6 ปี คือ)   1.  บัตรประชาชนมีอายุใช้งานได้หกปี โดยการนับอายุบัตรประจำตัวประชาชนให้นับตั้งแต่วันออกบัตรประชาชนไปจนครบหกปีบริบูรณ์ แต่หากวันที่บัตรประจำตัวประชาชนมีอายุหกปีบริบูรณ์ ไม่ตรงกับวันครบรอบวันเกิดของผู้ถือบัตร ใหันับระยะเวลาต่อไปจนถึงวันครบรอบวันเกิดของผู้ถือบัตรในปีนั้นหรือปีถัดไป แล้วแต่กรณี เป็นวันที่บัตรประจำตัวประชาชนหมดอายุ   2. บัตรประจำตัวประชาชนที่ยังไม่หมดอายุในวันที่ผู้ถือบัตรมีอายุครบเจ็ดสิบปีบริบูรณ์ให้ใช้ต่อไปได้ตลอดชีวิต

6  ปี (แต่บางกรณีมีอายุเกินกว่า 6 ปี คือ)   1.  บัตรประชาชนมีอายุใช้งานได้หกปี โดยการนับอายุบัตรประจำตัวประชาชนให้นับตั้งแต่วันออกบัตรประชาชนไปจนครบหกปีบริบูรณ์ แต่หากวันที่บัตรประจำตัวประชาชนมีอายุหกปีบริบูรณ์ ไม่ตรงกับวันครบรอบวันเกิดของผู้ถือบัตร ใหันับระยะเวลาต่อไปจนถึงวันครบรอบวันเกิดของผู้ถือบัตรในปีนั้นหรือปีถัดไป แล้วแต่กรณี เป็นวันที่บัตรประจำตัวประชาชนหมดอายุ   2. บัตรประจำตัวประชาชนที่ยังไม่หมดอายุในวันที่ผู้ถือบัตรมีอายุครบเจ็ดสิบปีบริบูรณ์ให้ใช้ต่อไปได้ตลอดชีวิต

Q

คำถามอื่นๆเกี่ยวกับสัญชาติและนิติกรณ์ : คนไทยเมื่อแปลงชาติเป็นคนต่างด้าวแล้ว จะเสียสัญชาติไทยโดยทันทีหรือไม่ ?

คำถามอื่นๆเกี่ยวกับสัญชาติและนิติกรณ์ : คนไทยเมื่อแปลงชาติเป็นคนต่างด้าวแล้ว จะเสียสัญชาติไทยโดยทันทีหรือไม่ ?

A

คนไทยที่แปลงสัญชาติเป็นคนต่างด้าวย่อมเสียสัญชาติไทย แต่การนี้จะมีผลก็ต่อเมื่อมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วเท่านั้น ดังนั้น มหาดไทยจึงขอให้สถานทูตส่งชื่อที่อยู่ของคนไทยที่แปลงชาติไปยังมหาดไทยเพื่อประกาศให้เสียสัญชาติในราชกิจจานุเบกษาต่อไป

คนไทยที่แปลงสัญชาติเป็นคนต่างด้าวย่อมเสียสัญชาติไทย แต่การนี้จะมีผลก็ต่อเมื่อมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วเท่านั้น ดังนั้น มหาดไทยจึงขอให้สถานทูตส่งชื่อที่อยู่ของคนไทยที่แปลงชาติไปยังมหาดไทยเพื่อประกาศให้เสียสัญชาติในราชกิจจานุเบกษาต่อไป

Q

คำถามอื่นๆเกี่ยวกับสัญชาติและนิติกรณ์ : หากบิดาเป็นคนไทย มารดาเป็นคนต่างด้าวและไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน บุตรที่เกิดนอกราชอาณาจักร จะได้สัญชาติไทย หรือไม่ ?

คำถามอื่นๆเกี่ยวกับสัญชาติและนิติกรณ์ : หากบิดาเป็นคนไทย มารดาเป็นคนต่างด้าวและไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน บุตรที่เกิดนอกราชอาณาจักร จะได้สัญชาติไทย หรือไม่ ?

A

เดิมกฤษฎีกาวินิจฉัยไว้ว่าในกรณีเช่นนี้ บุตรจะได้สัญชาติไทย เพราะยึดหลักบิดาตามความเป็นจริงแต่คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 560/2543 ได้วางแนวไว้ว่าในกรณีนี้บุตรจะไม่ได้สัญชาติไทยโดยการเกิด เนื่องจากไม่ใช่บิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย

เดิมกฤษฎีกาวินิจฉัยไว้ว่าในกรณีเช่นนี้ บุตรจะได้สัญชาติไทย เพราะยึดหลักบิดาตามความเป็นจริงแต่คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 560/2543 ได้วางแนวไว้ว่าในกรณีนี้บุตรจะไม่ได้สัญชาติไทยโดยการเกิด เนื่องจากไม่ใช่บิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย

Q

คำถามอื่นๆเกี่ยวกับสัญชาติและนิติกรณ์ : ผู้เยาว์ซึ่งอายุยังไม่ถึง 20 ปี สามารถขอสละสัญชาติไทยด้วยตนเองได้หรือไม่ ? หากไม่ได้ จะให้มารดาเป็นผู้ขอสละสัญชาติแทนได้หรือไม่ ?

คำถามอื่นๆเกี่ยวกับสัญชาติและนิติกรณ์ : ผู้เยาว์ซึ่งอายุยังไม่ถึง 20 ปี สามารถขอสละสัญชาติไทยด้วยตนเองได้หรือไม่ ? หากไม่ได้ จะให้มารดาเป็นผู้ขอสละสัญชาติแทนได้หรือไม่ ?

A

ไม่ได้ เพราะการสละสัญชาติไทยต้องกระทำเมื่ออายุครบ 20 ปีไปแล้ว และเนื่องจากการสละสัญชาติเป็นเรื่องเฉพาะตัว ผู้อื่นจึงไม่อาจยื่นคำร้องขอสละสัญชาติแทนได้

ไม่ได้ เพราะการสละสัญชาติไทยต้องกระทำเมื่ออายุครบ 20 ปีไปแล้ว และเนื่องจากการสละสัญชาติเป็นเรื่องเฉพาะตัว ผู้อื่นจึงไม่อาจยื่นคำร้องขอสละสัญชาติแทนได้

Q

คำถามอื่นๆเกี่ยวกับสัญชาติและนิติกรณ์ : เด็กซึ่งมีสองสัญชาติเนื่องจากมารดาไทยแต่งงานกับชาวต่างชาติ และอาศัยอยู่ในต่างประเทศจะต้องเกณฑ์ทหารหรือไม่ ?

คำถามอื่นๆเกี่ยวกับสัญชาติและนิติกรณ์ : เด็กซึ่งมีสองสัญชาติเนื่องจากมารดาไทยแต่งงานกับชาวต่างชาติ และอาศัยอยู่ในต่างประเทศจะต้องเกณฑ์ทหารหรือไม่ ?

A

ต้องเกณฑ์ โดยเมื่ออายุครบ 18 ปี ให้ไปแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกิน

ต้องเกณฑ์ โดยเมื่ออายุครบ 18 ปี ให้ไปแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกิน

Q

คำถามอื่นๆเกี่ยวกับสัญชาติและนิติกรณ์ : การได้สัญชาติย้อนหลังคืออะไร ?

คำถามอื่นๆเกี่ยวกับสัญชาติและนิติกรณ์ : การได้สัญชาติย้อนหลังคืออะไร ?

A

เดิม พ.ร.บ. สัญชาติ ปี 2508 ยินยอมให้บุคคลได้สัญชาติไทยในวงจำกัด ต่อมาเมื่อมีการแก้ไขในปี 2535 จึงได้เปิดโอกาสให้บุคคลได้รับสัญชาติไทยได้มากขึ้นรวมทั้งมีผลกับบุคคลที่เกิดก่อน วันที่ 26 ก.พ. 2535 ซึ่งเป็นวันที่ พ.ร.บ. มีผลบังคับใช้ด้วย ดังนั้น บุคคลที่เกิดก่อนวันที่ 26 ก.พ. 2535 และมิได้สัญชาติไทยเมื่อแรกเกิดจึงได้รับสัญชาติไทยเป็นการย้อนหลัง

เดิม พ.ร.บ. สัญชาติ ปี 2508 ยินยอมให้บุคคลได้สัญชาติไทยในวงจำกัด ต่อมาเมื่อมีการแก้ไขในปี 2535 จึงได้เปิดโอกาสให้บุคคลได้รับสัญชาติไทยได้มากขึ้นรวมทั้งมีผลกับบุคคลที่เกิดก่อน วันที่ 26 ก.พ. 2535 ซึ่งเป็นวันที่ พ.ร.บ. มีผลบังคับใช้ด้วย ดังนั้น บุคคลที่เกิดก่อนวันที่ 26 ก.พ. 2535 และมิได้สัญชาติไทยเมื่อแรกเกิดจึงได้รับสัญชาติไทยเป็นการย้อนหลัง

Q

คำถามอื่นๆเกี่ยวกับสัญชาติและนิติกรณ์ : บุคคลที่มีสิทธิได้สัญชาติไทยมาแจ้งเกิดเมื่ออายุเกิน 20 ปีแล้ว สถานทูตจะรับแจ้งเกิดได้หรือไม่ ? และจะถือว่าเป็นการเลือกสัญชาติหรือไม่ ?

คำถามอื่นๆเกี่ยวกับสัญชาติและนิติกรณ์ : บุคคลที่มีสิทธิได้สัญชาติไทยมาแจ้งเกิดเมื่ออายุเกิน 20 ปีแล้ว สถานทูตจะรับแจ้งเกิดได้หรือไม่ ? และจะถือว่าเป็นการเลือกสัญชาติหรือไม่ ?

A

ได้ เนื่องจากไม่มีข้อห้ามไว้แต่อย่างใด และไม่ถือว่าเป็นการเลือกสัญชาติ
 

สรุปข้อวินิจฉัยเกี่ยวกับสัญชาติของบุคคล ตามพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่๒) พ.ศ. ๒๕๓๕

 

๑)  สำหรับบุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทย

 

 

กรณีที่       สัญชาติบิดา       สัญชาติมารดา      สถานภาพการสมรส      สัญชาติบุตร      ข้อกฎหมาย

 

 

   ๑               ไทย                    ไทย                      จด                       ไทย            ม.๗(๑), ม.๑๐

 

 

   ๒               ไทย                    ไทย                    ไม่จด                      ไทย            ม.๗(๑), ม.๑๐

 

 

   ๓               ไทย            ต่างด้าว (มีใบฯ)               จด                        ไทย            ม.๗(๑), ม.๑๐

 

 

   ๔               ไทย            ต่างด้าว (มีใบฯ)             ไม่จด                       ไทย           ม.๗(๑), ม.๑๐

 

 

   ๕               ไทย            ต่างด้าว (๗ ทวิ)               จด                        ไทย           ม.๗(๑), ม.๑๐

 

 

   ๖                ไทย           ต่างด้าว (๗ ทวิ)              ไม่จด                      ไทย           ม.๗(๑), ม.๑๐

 

 

   ๗      ต่างด้าว (มีใบฯ)             ไทย                        จด                       ไทย           ม.๗(๑), ม.๑๐

 

 

   ๘       ต่างด้าว (มีใบฯ)             ไทย                      ไม่จด                     ไทย           ม.๗(๑), ม.๑๐

 

 

   ๙      ต่างด้าว (๗ ทวิ)             ไทย                         จด                      ไทย           ม.๗(๑), ม.๑๐

 

 

  ๑๐     ต่างด้าว (๗ ทวิ)              ไทย                       ไม่จด                    ไทย           ม.๗(๑), ม.๑๐

 

 

  ๑๑     ต่างด้าว (มีใบฯ)      ต่างด้าว (มีใบฯ)                  จด                      ไทย             ม.๗(๒)

 

 

  ๑๒     ต่างด้าว (มีใบฯ)      ต่างด้าว (มีใบฯ)                ไม่จด                    ไทย              ม.๗(๒)

 

 

  ๑๓     ต่างด้าว (มีใบฯ)      ต่างด้าว (๗ ทวิ)                  จด          ไม่ได้สัญชาติไทย   ม.๗ทวิ, ม.๑๑

 

 

  ๑๔     ต่างด้าว (มีใบฯ)      ต่างด้าว (๗ ทวิ)                ไม่จด         ไม่ได้สัญชาติไทย   ม.๗ทวิ,ม.๑๑

 

 

  ๑๕     ต่างด้าว (๗ ทวิ)      ต่างด้าว (มีใบฯ)                   จด          ไม่ได้สัญชาติไทย   ม.๗ทวิ, ม.๑๑

 

 

  ๑๖     ต่างด้าว (๗ ทวิ)      ต่างด้าว (มีใบฯ)                ไม่จด         ไม่ได้สัญชาติไทย   ม.๗ทวิ, ม.๑๑

 

 

  ๑๗    ต่างด้าว (๗ ทวิ)      ต่างด้าว (๗ ทวิ)                  จด          ไม่ได้สัญชาติไทย   ม.๗ทวิ, ม.๑๑

 

 

  ๑๘     ต่างด้าว (๗ ทวิ)      ต่างด้าว (๗ ทวิ)                ไม่จด        ไม่ได้สัญชาติไทย   ม.๗ทวิ, ม.๑๑

 

 

๒)  สำหรับบุคคลที่เกิดนอกราชอาณาจักรไทย

 

 

กรณีที่        สัญชาติบิดา        สัญชาติมารดา        สถานภาพการสมรส        สัญชาติบุตร        ข้อกฎหมาย

 

 

   ๑                 ไทย                   ไทย                          จด                         ไทย          ม.๗(๑), ม.๑๐

 

 

   ๒                 ไทย                   ไทย                        ไม่จด                        ไทย         ม.๗(๑), ม.๑๐

 

 

   ๓                 ไทย                    อื่นๆ                         จด                          ไทย        ม.๗(๑), ม.๑๐

 

 

   ๔                 ไทย                    อื่นๆ                       ไม่จด             ไม่ได้สัญชาติไทย  ม.๗(๑), ม.๑๐

 

 

   ๕                  อื่นๆ                   ไทย                         จด                          ไทย        ม.๗(๑), ม.๑๐

 

 

   ๖                  อื่นๆ                   ไทย                        ไม่จด                        ไทย        ม.๗(๑), ม.๑๐

 

 

* ตามคำพิพากษาศาลฎีกา ปี 2543

ได้ เนื่องจากไม่มีข้อห้ามไว้แต่อย่างใด และไม่ถือว่าเป็นการเลือกสัญชาติ
 

สรุปข้อวินิจฉัยเกี่ยวกับสัญชาติของบุคคล ตามพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่๒) พ.ศ. ๒๕๓๕

 

๑)  สำหรับบุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทย

 

 

กรณีที่       สัญชาติบิดา       สัญชาติมารดา      สถานภาพการสมรส      สัญชาติบุตร      ข้อกฎหมาย

 

 

   ๑               ไทย                    ไทย                      จด                       ไทย            ม.๗(๑), ม.๑๐

 

 

   ๒               ไทย                    ไทย                    ไม่จด                      ไทย            ม.๗(๑), ม.๑๐

 

 

   ๓               ไทย            ต่างด้าว (มีใบฯ)               จด                        ไทย            ม.๗(๑), ม.๑๐

 

 

   ๔               ไทย            ต่างด้าว (มีใบฯ)             ไม่จด                       ไทย           ม.๗(๑), ม.๑๐

 

 

   ๕               ไทย            ต่างด้าว (๗ ทวิ)               จด                        ไทย           ม.๗(๑), ม.๑๐

 

 

   ๖                ไทย           ต่างด้าว (๗ ทวิ)              ไม่จด                      ไทย           ม.๗(๑), ม.๑๐

 

 

   ๗      ต่างด้าว (มีใบฯ)             ไทย                        จด                       ไทย           ม.๗(๑), ม.๑๐

 

 

   ๘       ต่างด้าว (มีใบฯ)             ไทย                      ไม่จด                     ไทย           ม.๗(๑), ม.๑๐

 

 

   ๙      ต่างด้าว (๗ ทวิ)             ไทย                         จด                      ไทย           ม.๗(๑), ม.๑๐

 

 

  ๑๐     ต่างด้าว (๗ ทวิ)              ไทย                       ไม่จด                    ไทย           ม.๗(๑), ม.๑๐

 

 

  ๑๑     ต่างด้าว (มีใบฯ)      ต่างด้าว (มีใบฯ)                  จด                      ไทย             ม.๗(๒)

 

 

  ๑๒     ต่างด้าว (มีใบฯ)      ต่างด้าว (มีใบฯ)                ไม่จด                    ไทย              ม.๗(๒)

 

 

  ๑๓     ต่างด้าว (มีใบฯ)      ต่างด้าว (๗ ทวิ)                  จด          ไม่ได้สัญชาติไทย   ม.๗ทวิ, ม.๑๑

 

 

  ๑๔     ต่างด้าว (มีใบฯ)      ต่างด้าว (๗ ทวิ)                ไม่จด         ไม่ได้สัญชาติไทย   ม.๗ทวิ,ม.๑๑

 

 

  ๑๕     ต่างด้าว (๗ ทวิ)      ต่างด้าว (มีใบฯ)                   จด          ไม่ได้สัญชาติไทย   ม.๗ทวิ, ม.๑๑

 

 

  ๑๖     ต่างด้าว (๗ ทวิ)      ต่างด้าว (มีใบฯ)                ไม่จด         ไม่ได้สัญชาติไทย   ม.๗ทวิ, ม.๑๑

 

 

  ๑๗    ต่างด้าว (๗ ทวิ)      ต่างด้าว (๗ ทวิ)                  จด          ไม่ได้สัญชาติไทย   ม.๗ทวิ, ม.๑๑

 

 

  ๑๘     ต่างด้าว (๗ ทวิ)      ต่างด้าว (๗ ทวิ)                ไม่จด        ไม่ได้สัญชาติไทย   ม.๗ทวิ, ม.๑๑

 

 

๒)  สำหรับบุคคลที่เกิดนอกราชอาณาจักรไทย

 

 

กรณีที่        สัญชาติบิดา        สัญชาติมารดา        สถานภาพการสมรส        สัญชาติบุตร        ข้อกฎหมาย

 

 

   ๑                 ไทย                   ไทย                          จด                         ไทย          ม.๗(๑), ม.๑๐

 

 

   ๒                 ไทย                   ไทย                        ไม่จด                        ไทย         ม.๗(๑), ม.๑๐

 

 

   ๓                 ไทย                    อื่นๆ                         จด                          ไทย        ม.๗(๑), ม.๑๐

 

 

   ๔                 ไทย                    อื่นๆ                       ไม่จด             ไม่ได้สัญชาติไทย  ม.๗(๑), ม.๑๐

 

 

   ๕                  อื่นๆ                   ไทย                         จด                          ไทย        ม.๗(๑), ม.๑๐

 

 

   ๖                  อื่นๆ                   ไทย                        ไม่จด                        ไทย        ม.๗(๑), ม.๑๐

 

 

* ตามคำพิพากษาศาลฎีกา ปี 2543
Q

คำถามอื่นๆเกี่ยวกับสัญชาติและนิติกรณ์ : ชายและหญิงที่เป็นคนต่างชาติจะสามารถจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายไทยได้หรือไม่ ?

คำถามอื่นๆเกี่ยวกับสัญชาติและนิติกรณ์ : ชายและหญิงที่เป็นคนต่างชาติจะสามารถจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายไทยได้หรือไม่ ?

A

ได้ หากจะจดทะเบียนสมรสในประเทศไทย แต่จะมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายของต่างประเทศหรือไม่ย่อมอยู่กับ    กฎหมายของประเทศนั้นเอง   2)  ไม่ได้ หากขอจดทะเบียนสมรสที่สอท./สกญ.ไทยในต่างประเทศ

ได้ หากจะจดทะเบียนสมรสในประเทศไทย แต่จะมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายของต่างประเทศหรือไม่ย่อมอยู่กับ    กฎหมายของประเทศนั้นเอง   2)  ไม่ได้ หากขอจดทะเบียนสมรสที่สอท./สกญ.ไทยในต่างประเทศ

Q

คำถามอื่นๆเกี่ยวกับสัญชาติและนิติกรณ์ : ชายหญิงต่างชาติที่จดทะเบียนสมรสกันในประเทศไทย หากต้องการหย่าจะกระทำ ณ สถานทูตไทย ได้หรือไม่ ?

คำถามอื่นๆเกี่ยวกับสัญชาติและนิติกรณ์ : ชายหญิงต่างชาติที่จดทะเบียนสมรสกันในประเทศไทย หากต้องการหย่าจะกระทำ ณ สถานทูตไทย ได้หรือไม่ ?

A

ได้

ได้

Q

คำถามอื่นๆเกี่ยวกับสัญชาติและนิติกรณ์ : หากคนไทยด้วยกัน หรือคนไทยกับคนต่างชาติต้องการจดทะเบียนฯ ในต่างประเทศจะต้องจดทะเบียนตามกฎหมายไทย หรือตามกฎหมายต่างชาติ ?

คำถามอื่นๆเกี่ยวกับสัญชาติและนิติกรณ์ : หากคนไทยด้วยกัน หรือคนไทยกับคนต่างชาติต้องการจดทะเบียนฯ ในต่างประเทศจะต้องจดทะเบียนตามกฎหมายไทย หรือตามกฎหมายต่างชาติ ?

A

จะจดทะเบียนตามกฎหมายไทย หรือกฎหมายต่างชาติก็ได้ และหากจดตามกฎหมายต่างชาติแล้วก็จะมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายไทยด้วย สถานทูตจึงไม่จำต้องจดทะเบียนฯ ที่สถานทูตให้อีก

จะจดทะเบียนตามกฎหมายไทย หรือกฎหมายต่างชาติก็ได้ และหากจดตามกฎหมายต่างชาติแล้วก็จะมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายไทยด้วย สถานทูตจึงไม่จำต้องจดทะเบียนฯ ที่สถานทูตให้อีก

Q

คำถามอื่นๆเกี่ยวกับสัญชาติและนิติกรณ์ : คนไทยสมรสกับคนต่างชาติตามกฎหมายของชาวต่างชาตินั้น หากจะหย่าสามารถจดทะเบียนหย่า ณ สถานทูตไทยได้หรือไม่ ?

คำถามอื่นๆเกี่ยวกับสัญชาติและนิติกรณ์ : คนไทยสมรสกับคนต่างชาติตามกฎหมายของชาวต่างชาตินั้น หากจะหย่าสามารถจดทะเบียนหย่า ณ สถานทูตไทยได้หรือไม่ ?

A

ไม่ได้ แม้ว่ากฎหมายไทยได้ยอมรับการจดทะเบียนสมรสระหว่างคนไทยกับคนต่างชาติตามแบบกฎหมายต่างชาติ แต่การจดทะเบียนฯ นั้นมิใช่การจดทะเบียนฯ ตามแบบกฎหมายไทย ดังนั้น การหย่าตามแบบกฎหมายไทยจึงกระทำไม่ได้

ไม่ได้ แม้ว่ากฎหมายไทยได้ยอมรับการจดทะเบียนสมรสระหว่างคนไทยกับคนต่างชาติตามแบบกฎหมายต่างชาติ แต่การจดทะเบียนฯ นั้นมิใช่การจดทะเบียนฯ ตามแบบกฎหมายไทย ดังนั้น การหย่าตามแบบกฎหมายไทยจึงกระทำไม่ได้

Q

คำถามอื่นๆเกี่ยวกับสัญชาติและนิติกรณ์ : คนไทยสมรสกับคนต่างชาติตามกฎหมายของประเทศคู่สมรส หากต้องการให้บันทึกสถานะการสมรสของตนในประเทศไทยกระทำได้หรือไม่ ?

คำถามอื่นๆเกี่ยวกับสัญชาติและนิติกรณ์ : คนไทยสมรสกับคนต่างชาติตามกฎหมายของประเทศคู่สมรส หากต้องการให้บันทึกสถานะการสมรสของตนในประเทศไทยกระทำได้หรือไม่ ?

A

ได้ โดยนำทะเบียนสมรสไปรับรองและแปลตามระเบียบนิติกรณ์แล้วจึงนำไปขดจดทะเบียนฐานะแห่งครอบครัว(คร.22) ที่เขต/อำเภอ ที่มีทะเบียนบ้านอยู่

ได้ โดยนำทะเบียนสมรสไปรับรองและแปลตามระเบียบนิติกรณ์แล้วจึงนำไปขดจดทะเบียนฐานะแห่งครอบครัว(คร.22) ที่เขต/อำเภอ ที่มีทะเบียนบ้านอยู่

Q

คำถามอื่นๆเกี่ยวกับสัญชาติและนิติกรณ์ : การจดทะเบียนสมรส หรือหย่าในต่างประเทศ คู่สมรส หรือคู่หย่า จะไม่มาปรากฏตัวต่อหน้าเจ้าหน้าที่สถานทูต แต่ส่งเอกสารทางไปรษณีย์ไปมาระหว่างกันได้หรือไม่ ?

คำถามอื่นๆเกี่ยวกับสัญชาติและนิติกรณ์ : การจดทะเบียนสมรส หรือหย่าในต่างประเทศ คู่สมรส หรือคู่หย่า จะไม่มาปรากฏตัวต่อหน้าเจ้าหน้าที่สถานทูต แต่ส่งเอกสารทางไปรษณีย์ไปมาระหว่างกันได้หรือไม่ ?

A

ไม่ได้ เนื่องจากในการรับจดทะเบียนนั้น ผู้ร้องต้องลงลายมือชื่อต่อหน้านายทะเบียนและพยานสองคน

ไม่ได้ เนื่องจากในการรับจดทะเบียนนั้น ผู้ร้องต้องลงลายมือชื่อต่อหน้านายทะเบียนและพยานสองคน

Q

คำถามอื่นๆเกี่ยวกับสัญชาติและนิติกรณ์ : การออกหนังสือรับรองความเป็นโสดสามารถกระทำได้หรือไม่ ?

คำถามอื่นๆเกี่ยวกับสัญชาติและนิติกรณ์ : การออกหนังสือรับรองความเป็นโสดสามารถกระทำได้หรือไม่ ?

A

ไม่มีกฎหมายหรือระเบียบใดของมหาดไทยกำหนดให้สถานทูตออกหนังสือรับรองความเป็นโสดได้

ไม่มีกฎหมายหรือระเบียบใดของมหาดไทยกำหนดให้สถานทูตออกหนังสือรับรองความเป็นโสดได้

Q

คำถามอื่นๆเกี่ยวกับสัญชาติและนิติกรณ์ : หญิงไทยที่สมรสกับคนต่างชาติจะสามารถใช้ชื่อสกุลของตนเองเป็นชื่อรองได้หรือไม่ ?

คำถามอื่นๆเกี่ยวกับสัญชาติและนิติกรณ์ : หญิงไทยที่สมรสกับคนต่างชาติจะสามารถใช้ชื่อสกุลของตนเองเป็นชื่อรองได้หรือไม่ ?

A

ได้ (มาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติชื่อบุคคล พ.ศ. 2505)

ได้ (มาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติชื่อบุคคล พ.ศ. 2505)

Q

คำถามอื่นๆเกี่ยวกับสัญชาติและนิติกรณ์ : ในบางประเทศ ภาษาของประเทศนั้นแสดงถึงเพศชาย หญิง เช่น ในประเทศโปแลนด์ คำว่า Przoerska กับ Przoerski ถือว่าเป็นคำเดียวกัน แต่คำที่ลงท้ายด้วย a จะใช้กับเพศหญิง และคำที่ลงท้ายด้วย i จะให้กับเพศชาย ในกรณีเช่นนี้ เมื่อหญิงไทยแต่งงานกับชายผู้นั้นแล้ว หากจะ

คำถามอื่นๆเกี่ยวกับสัญชาติและนิติกรณ์ : ในบางประเทศ ภาษาของประเทศนั้นแสดงถึงเพศชาย หญิง เช่น ในประเทศโปแลนด์ คำว่า Przoerska กับ Przoerski ถือว่าเป็นคำเดียวกัน แต่คำที่ลงท้ายด้วย a จะใช้กับเพศหญิง และคำที่ลงท้ายด้วย i จะให้กับเพศชาย ในกรณีเช่นนี้ เมื่อหญิงไทยแต่งงานกับชายผู้นั้นแล้ว หากจะ

A

ในบางประเทศ ภาษาของประเทศนั้นแสดงถึงเพศชาย หญิง เช่น ในประเทศโปแลนด์ คำว่า Przoerska กับ Przoerski ถือว่าเป็นคำเดียวกัน แต่คำที่ลงท้ายด้วย a จะใช้กับเพศหญิง และคำที่ลงท้ายด้วย i จะให้กับเพศชาย ในกรณีเช่นนี้ เมื่อหญิงไทยแต่งงานกับชายผู้นั้นแล้ว หากจะ

ให้สะกดนามสกุลหลังการสมรสว่า  Przoerska   ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมท้องถิ่นนั้นๆ  และไม่ถือว่าขัดต่อพ.ร.บ. ชื่อบุคคลฯ แต่อย่างใด

ในบางประเทศ ภาษาของประเทศนั้นแสดงถึงเพศชาย หญิง เช่น ในประเทศโปแลนด์ คำว่า Przoerska กับ Przoerski ถือว่าเป็นคำเดียวกัน แต่คำที่ลงท้ายด้วย a จะใช้กับเพศหญิง และคำที่ลงท้ายด้วย i จะให้กับเพศชาย ในกรณีเช่นนี้ เมื่อหญิงไทยแต่งงานกับชายผู้นั้นแล้ว หากจะ

ให้สะกดนามสกุลหลังการสมรสว่า  Przoerska   ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมท้องถิ่นนั้นๆ  และไม่ถือว่าขัดต่อพ.ร.บ. ชื่อบุคคลฯ แต่อย่างใด

Q

คำถามอื่นๆเกี่ยวกับสัญชาติและนิติกรณ์ : คนไทยที่สมรสกับคนต่างชาติจะถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินหรือห้องชุดได้หรือไม่ ? (2)

คำถามอื่นๆเกี่ยวกับสัญชาติและนิติกรณ์ : คนไทยที่สมรสกับคนต่างชาติจะถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินหรือห้องชุดได้หรือไม่ ? (2)

A

ได้ หากว่าการซื้อที่ดิน หรือห้องชุดนั้นเป็นการจัดซื้อเพื่อให้เป็นสินส่วนตัวของตนเอง แต่ทั้งนี้ คนไทยผู้ขอซื้อ และคู่สมรสที่เป็นชาวต่างชาติต้องมีหนังสือยืนยันเป็นหนังสือว่าเงินที่นำมาซื้อนั้นเป็นสินส่วนตัวของคนไทยผู้ขอซื้อ มิใส่สินสมรส ทั้งนี้ ไม่ว่าบุคคลทั้งสองจะจดทะเบียนฯ หรือไม่ก็ตาม   ทั้งนี้ ขอให้ผู้นั้นส่งหนังสือยืนยันแก่กรมที่ดินทางไปรษณีย์ได้โดยตรง

ได้ หากว่าการซื้อที่ดิน หรือห้องชุดนั้นเป็นการจัดซื้อเพื่อให้เป็นสินส่วนตัวของตนเอง แต่ทั้งนี้ คนไทยผู้ขอซื้อ และคู่สมรสที่เป็นชาวต่างชาติต้องมีหนังสือยืนยันเป็นหนังสือว่าเงินที่นำมาซื้อนั้นเป็นสินส่วนตัวของคนไทยผู้ขอซื้อ มิใส่สินสมรส ทั้งนี้ ไม่ว่าบุคคลทั้งสองจะจดทะเบียนฯ หรือไม่ก็ตาม   ทั้งนี้ ขอให้ผู้นั้นส่งหนังสือยืนยันแก่กรมที่ดินทางไปรษณีย์ได้โดยตรง

Q

คำถามอื่นๆเกี่ยวกับสัญชาติและนิติกรณ์ : บุคคลสัญฃาติไทยที่มีคู่สมรสเป็นคนต่างชาติและพำนักอยู่ในต่างประเทศ จะขอซื้อที่ดิน หรือขอรับโอนที่ดิน หรือ ขอซื้อห้องชุด ได้หรือไม่ ?

คำถามอื่นๆเกี่ยวกับสัญชาติและนิติกรณ์ : บุคคลสัญฃาติไทยที่มีคู่สมรสเป็นคนต่างชาติและพำนักอยู่ในต่างประเทศ จะขอซื้อที่ดิน หรือขอรับโอนที่ดิน หรือ ขอซื้อห้องชุด ได้หรือไม่ ?

A

ได้

ได้

Q

คำถามอื่นๆเกี่ยวกับสัญชาติและนิติกรณ์ : การรับบุตรบุญธรรมภายใต้กฎหมายต่างชาติสามารถเปลี่ยนนามสกุลเด็กไทยให้เป็นนามสกุลผู้รับ ชาวต่างชาติได้หรือไม่ ?

คำถามอื่นๆเกี่ยวกับสัญชาติและนิติกรณ์ : การรับบุตรบุญธรรมภายใต้กฎหมายต่างชาติสามารถเปลี่ยนนามสกุลเด็กไทยให้เป็นนามสกุลผู้รับ ชาวต่างชาติได้หรือไม่ ?

A

ไม่ได้  เพราะการจะเปลี่ยนนามสกุลตามผู้รับได้ ต้องดำเนินการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมตามกฎหมายไทยเสียก่อน

ไม่ได้  เพราะการจะเปลี่ยนนามสกุลตามผู้รับได้ ต้องดำเนินการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมตามกฎหมายไทยเสียก่อน

Q

คำถามอื่นๆเกี่ยวกับสัญชาติและนิติกรณ์ : ชาวต่างชาติจะทำใบขับขี่ไทยได้หรือไม่ จะต้องดำเนินการอย่างไร?

คำถามอื่นๆเกี่ยวกับสัญชาติและนิติกรณ์ : ชาวต่างชาติจะทำใบขับขี่ไทยได้หรือไม่ จะต้องดำเนินการอย่างไร?

A

ได้ จะต้องเป็นชาวต่างชาติที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ตามกฏหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง (NON-IMMEGRANT VISA) โดยชาวต่างชาติจะต้องยื่นค่าขอรับรองใบอนุญาตขับรถด้วยตนเอง ที่กรมการขนส่งทางบก ยกเว้น การขอรับใบอนุญาตขับรถระหว่างประเทศ ซึ่งสามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นยื่นขอรับใบอนุญาตขับรถแทนได้  

ได้ จะต้องเป็นชาวต่างชาติที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ตามกฏหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง (NON-IMMEGRANT VISA) โดยชาวต่างชาติจะต้องยื่นค่าขอรับรองใบอนุญาตขับรถด้วยตนเอง ที่กรมการขนส่งทางบก ยกเว้น การขอรับใบอนุญาตขับรถระหว่างประเทศ ซึ่งสามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นยื่นขอรับใบอนุญาตขับรถแทนได้  

Q

คำถามอื่นๆเกี่ยวกับสัญชาติและนิติกรณ์ : ชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในไทย ทำใบขับขี่ไทย ได้หรือไม่ ?

คำถามอื่นๆเกี่ยวกับสัญชาติและนิติกรณ์ : ชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในไทย ทำใบขับขี่ไทย ได้หรือไม่ ?

A

ชาวต่างชาติที่เข้ามาท่องเที่ยว มาเล่นกีฬา หรือ เดินทางผ่านราชอาณาจักร ไม่สามารถทำใบขับขี่ไทยได้

ชาวต่างชาติที่เข้ามาท่องเที่ยว มาเล่นกีฬา หรือ เดินทางผ่านราชอาณาจักร ไม่สามารถทำใบขับขี่ไทยได้

Q

คำถามอื่นๆเกี่ยวกับสัญชาติและนิติกรณ์ : ใบอนุญาตขับขี่ระหว่างประเทศมีอายุกี่ปี ต่ออายุได้หรือไม่ ?

คำถามอื่นๆเกี่ยวกับสัญชาติและนิติกรณ์ : ใบอนุญาตขับขี่ระหว่างประเทศมีอายุกี่ปี ต่ออายุได้หรือไม่ ?

A

ใบอนุญาตขับขี่ระหว่งประเทศดังกล่าวมีอายุ 1 ปี นับจากวันที่อนุญาต เมื่อขาดอายุแล้วไม่มีการต่ออายุ ผู้ที่ประสงค์จะขอรับใบอนุญาตขับขี่ระหว่างประเทศฉบับใหม่ จะต้องนำหลักฐานมายื่นประกอบคำขอใหม่ทุกครั้ง

ใบอนุญาตขับขี่ระหว่งประเทศดังกล่าวมีอายุ 1 ปี นับจากวันที่อนุญาต เมื่อขาดอายุแล้วไม่มีการต่ออายุ ผู้ที่ประสงค์จะขอรับใบอนุญาตขับขี่ระหว่างประเทศฉบับใหม่ จะต้องนำหลักฐานมายื่นประกอบคำขอใหม่ทุกครั้ง

Q

คำถามอื่นๆเกี่ยวกับสัญชาติและนิติกรณ์ : ชาวต่างชาติจะขอรับใบอนุญาตขับขี่ระหว่างประเทศของไทย จะต้องใช้หลักฐานอะไรบ้าง ?

คำถามอื่นๆเกี่ยวกับสัญชาติและนิติกรณ์ : ชาวต่างชาติจะขอรับใบอนุญาตขับขี่ระหว่างประเทศของไทย จะต้องใช้หลักฐานอะไรบ้าง ?

A

ระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตขับรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ พ.ศ. 2536 กำหนดให้ชาวต่างชาติที่จะขอรับใบอนุญาตขับขี่ระหว่างประเทศของไทย ต้องใช้หลักฐานประกอบคำขอดังต่อไปนี้         1.  ใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคลหนึ่งปี ใบอนุญาตขับรถยนต์สาธารณะ หรือใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ ตามกฎหมายไทย ซึ่งยังไม่สิ้นอายุ (โดยผู้ที่จะได้รับใบอนุญาตขับรถดังกล่าวได้จะต้องได้รับใบอนุญาตขับรถชนิดชั่วคราวมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี) พร้อมภาพถ่าย  2.  หนังสือเดินทาง (VISA ประเภท NON-IMMIGRANT) พร้อมภาพ  3.  ใบรับรองถิ่นฐานที่อยู่ในประเทศไทย ออกโดยสถานทูต หรือหน่วยงานราชการ  4.  รูปถ่ายขนาด 4x6 เซนติเมตร (2 นิ้ว) จำนวน 2 รูป (ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน) 5.  หนังสือมอบอำนาจ ติดอากรแสตมป์ 10 บาท และบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (กรณีไม่สามารถมาดำเนินการด้วยตนเอง)

ระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตขับรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ พ.ศ. 2536 กำหนดให้ชาวต่างชาติที่จะขอรับใบอนุญาตขับขี่ระหว่างประเทศของไทย ต้องใช้หลักฐานประกอบคำขอดังต่อไปนี้         1.  ใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคลหนึ่งปี ใบอนุญาตขับรถยนต์สาธารณะ หรือใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ ตามกฎหมายไทย ซึ่งยังไม่สิ้นอายุ (โดยผู้ที่จะได้รับใบอนุญาตขับรถดังกล่าวได้จะต้องได้รับใบอนุญาตขับรถชนิดชั่วคราวมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี) พร้อมภาพถ่าย  2.  หนังสือเดินทาง (VISA ประเภท NON-IMMIGRANT) พร้อมภาพ  3.  ใบรับรองถิ่นฐานที่อยู่ในประเทศไทย ออกโดยสถานทูต หรือหน่วยงานราชการ  4.  รูปถ่ายขนาด 4x6 เซนติเมตร (2 นิ้ว) จำนวน 2 รูป (ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน) 5.  หนังสือมอบอำนาจ ติดอากรแสตมป์ 10 บาท และบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (กรณีไม่สามารถมาดำเนินการด้วยตนเอง)

Q

คำถามอื่นๆเกี่ยวกับสัญชาติและนิติกรณ์ : ในการแจ้งเกิดสามารถใช้ชื่อเป็นสำเนียงภาษาต่างประเทศได้หรือไม่ ? และสามารถนำชื่อสกุลมารดาเป็นชื่อรองได้หรือไม่ ?

คำถามอื่นๆเกี่ยวกับสัญชาติและนิติกรณ์ : ในการแจ้งเกิดสามารถใช้ชื่อเป็นสำเนียงภาษาต่างประเทศได้หรือไม่ ? และสามารถนำชื่อสกุลมารดาเป็นชื่อรองได้หรือไม่ ?

A

ได้ เพราะ พ.ร.บ. ชื่อบุคคล 2505 มิได้ห้ามไว้ ทั้งนี้ แม้ว่าประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีจะกำหนดไว้ว่าชื่อต้องมีความหมายในภาษาไทยและไม่เกิน 3 พยางค์ก็ตาม

ได้ เพราะ พ.ร.บ. ชื่อบุคคล 2505 มิได้ห้ามไว้ ทั้งนี้ แม้ว่าประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีจะกำหนดไว้ว่าชื่อต้องมีความหมายในภาษาไทยและไม่เกิน 3 พยางค์ก็ตาม

Q

คำถามอื่นๆเกี่ยวกับสัญชาติและนิติกรณ์ : คนไทยที่สมรสกับคนต่างชาติจะถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินหรือห้องชุดได้หรือไม่ ?

คำถามอื่นๆเกี่ยวกับสัญชาติและนิติกรณ์ : คนไทยที่สมรสกับคนต่างชาติจะถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินหรือห้องชุดได้หรือไม่ ?

A

ได้ หากว่าการซื้อที่ดิน หรือห้องชุดนั้นเป็นการจัดซื้อเพื่อให้เป็นสินส่วนตัวของตนเอง แต่ทั้งนี้คนไทยผู้ขอซื้อ และคู่สมรสที่เป็นชาวต่างชาติต้องมีหนังสือยืนยันเป็นหนังสือว่าเงินที่นำมาซื้อนั้นเป็นสินส่วนตัวของคนไทยผู้ขอซื้อ มิใช่สินสมรส ทั้งนี้ ไม่ว่าบุคคลทั้งสองจะจดทะเบียนฯ หรือไม่ก็ตาม

ได้ หากว่าการซื้อที่ดิน หรือห้องชุดนั้นเป็นการจัดซื้อเพื่อให้เป็นสินส่วนตัวของตนเอง แต่ทั้งนี้คนไทยผู้ขอซื้อ และคู่สมรสที่เป็นชาวต่างชาติต้องมีหนังสือยืนยันเป็นหนังสือว่าเงินที่นำมาซื้อนั้นเป็นสินส่วนตัวของคนไทยผู้ขอซื้อ มิใช่สินสมรส ทั้งนี้ ไม่ว่าบุคคลทั้งสองจะจดทะเบียนฯ หรือไม่ก็ตาม

Q

คำถามอื่นๆเกี่ยวกับสัญชาติและนิติกรณ์ : คนต่างด้าวสามารถถือกรรมสิทธิ์ที่ดินในประเทศไทยได้เพียงใด ?

คำถามอื่นๆเกี่ยวกับสัญชาติและนิติกรณ์ : คนต่างด้าวสามารถถือกรรมสิทธิ์ที่ดินในประเทศไทยได้เพียงใด ?

A

คนต่างด้าวไม่สามารถถือกรรมสิทธิที่ดินในประเทศไทยได้ ยกเว้น ได้กรรมสิทธิในที่ดินในฐานะทายาทโดยชอบธรรม และต้องไม่เกินจำนวนที่กฎหมายกำหนดไว้ (คือ เพื่ออยู่อาศัยต้องไม่เกิน 1 ไร่/ครอบครัว เพื่อการพาณิชยกรรมต้องไม่เกิน 1 ไร่ เพื่อการอุตสาหกรรมต้องไม่เกิน 10 ไร่ เพื่อการเกษตรกรรมต้องไม่เกิน 10 ไร่/ครอบครัว เพื่อการศาสนาต้องไม่เกิน 1 ไร่ เพื่อการกุศลและสาธารณะต้องไม่เกิน 5 ไร่ และสุสานของตระกูลต้องไม่เกิน 1/2 ไร่)  นอกจากนี้ นับแต่ปี 2542 คนต่างด้าวที่นำเงินมาลงทุนในไทยไม่น้อยกว่า 40 ล้านบาท สามารถมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยได้ไม่เกิน 1 ไร่

คนต่างด้าวไม่สามารถถือกรรมสิทธิที่ดินในประเทศไทยได้ ยกเว้น ได้กรรมสิทธิในที่ดินในฐานะทายาทโดยชอบธรรม และต้องไม่เกินจำนวนที่กฎหมายกำหนดไว้ (คือ เพื่ออยู่อาศัยต้องไม่เกิน 1 ไร่/ครอบครัว เพื่อการพาณิชยกรรมต้องไม่เกิน 1 ไร่ เพื่อการอุตสาหกรรมต้องไม่เกิน 10 ไร่ เพื่อการเกษตรกรรมต้องไม่เกิน 10 ไร่/ครอบครัว เพื่อการศาสนาต้องไม่เกิน 1 ไร่ เพื่อการกุศลและสาธารณะต้องไม่เกิน 5 ไร่ และสุสานของตระกูลต้องไม่เกิน 1/2 ไร่)  นอกจากนี้ นับแต่ปี 2542 คนต่างด้าวที่นำเงินมาลงทุนในไทยไม่น้อยกว่า 40 ล้านบาท สามารถมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยได้ไม่เกิน 1 ไร่

Q

คำถามอื่นๆเกี่ยวกับสัญชาติและนิติกรณ์ : คนสัญชาติไทย ซึ่งอาศัยอยู่ต่างประเทศแต่ได้แจ้งต่อทางการประเทศนั้นว่าตนมีสัญชาติอื่นที่มิใช่สัญชาติไทย หากผู้นั้นเสียชีวิตลง ญาติของผู้นั้นจะให้ สอท. / สกญ. ออกมรณบัตรได้หรือไม่ ?

คำถามอื่นๆเกี่ยวกับสัญชาติและนิติกรณ์ : คนสัญชาติไทย ซึ่งอาศัยอยู่ต่างประเทศแต่ได้แจ้งต่อทางการประเทศนั้นว่าตนมีสัญชาติอื่นที่มิใช่สัญชาติไทย หากผู้นั้นเสียชีวิตลง ญาติของผู้นั้นจะให้ สอท. / สกญ. ออกมรณบัตรได้หรือไม่ ?

A

พ.ร.บ. การทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 มาตรา 28  กำหนดให้ สอท. / สกญ. มีหน้าที่รับจดทะเบียนคนเกิดและ  คนตายที่มีขึ้นนอกราชอาณาจักรสำหรับคนสัญชาติไทยและคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร ดังนั้น   นายทะเบียนจะต้องตรวจพิสูจน์ข้อเท็จจริงเป็นราย ๆ ว่าผู้ตายมีสัญชาติไทย หรือเป็นคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้มีถิ่น    ที่อยู่ในประเทศไทยหรือไม่ โดยพิจารณาหลักฐานเอกสาร และสอบพยานบุคคลใกล้ชิด และผู้น่าเชื่อถือ (ถ้ามี) ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น สอท. / สกญ. ก็สามารถรับจดทะเบียนคนตายได้

พ.ร.บ. การทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 มาตรา 28  กำหนดให้ สอท. / สกญ. มีหน้าที่รับจดทะเบียนคนเกิดและ  คนตายที่มีขึ้นนอกราชอาณาจักรสำหรับคนสัญชาติไทยและคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร ดังนั้น   นายทะเบียนจะต้องตรวจพิสูจน์ข้อเท็จจริงเป็นราย ๆ ว่าผู้ตายมีสัญชาติไทย หรือเป็นคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้มีถิ่น    ที่อยู่ในประเทศไทยหรือไม่ โดยพิจารณาหลักฐานเอกสาร และสอบพยานบุคคลใกล้ชิด และผู้น่าเชื่อถือ (ถ้ามี) ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น สอท. / สกญ. ก็สามารถรับจดทะเบียนคนตายได้

Q

คำถามอื่นๆเกี่ยวกับสัญชาติและนิติกรณ์ : บุคคลต่างด้าว ซึ่งมีใบสำคัญถิ่นที่อยู่ในไทย เสียชีวิตในต่างประเทศ โดยใบสำคัญถิ่นที่อยู่และเอกสารเดินทางสำหรับคนต่างด้าวหมดอายุ สถานทูตจะออกมรณบัตรให้ได้หรือไม่ ?

คำถามอื่นๆเกี่ยวกับสัญชาติและนิติกรณ์ : บุคคลต่างด้าว ซึ่งมีใบสำคัญถิ่นที่อยู่ในไทย เสียชีวิตในต่างประเทศ โดยใบสำคัญถิ่นที่อยู่และเอกสารเดินทางสำหรับคนต่างด้าวหมดอายุ สถานทูตจะออกมรณบัตรให้ได้หรือไม่ ?

A

ได้ เพราะใบสำคัญถิ่นที่อยู่และเอกสารการเดินทางฯ มิใช่ประเด็นของการออกมรณบัตร ทั้งนี้ ขอให้หมายเหตุไว้บนมรณบัตร ว่า "บุคคลต่างด้าวมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรไทย"

ได้ เพราะใบสำคัญถิ่นที่อยู่และเอกสารการเดินทางฯ มิใช่ประเด็นของการออกมรณบัตร ทั้งนี้ ขอให้หมายเหตุไว้บนมรณบัตร ว่า "บุคคลต่างด้าวมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรไทย"

Q

คำถามอื่นๆเกี่ยวกับสัญชาติและนิติกรณ์ : หญิงซึ่งมีบุตรโดยมิได้จดทะเบียนสมรส และยังใช้คำนำหน้าชื่อตนเองว่า "นางสาว" หากต้องการยื่นคำร้องขอแก้ไขเอกสารทางราชการของบุตร จำต้องขอเปลี่ยนคำนำหน้าจาก "นางสาว" เป็น "นาง" ก่อนหรือไม่ ?

คำถามอื่นๆเกี่ยวกับสัญชาติและนิติกรณ์ : หญิงซึ่งมีบุตรโดยมิได้จดทะเบียนสมรส และยังใช้คำนำหน้าชื่อตนเองว่า "นางสาว" หากต้องการยื่นคำร้องขอแก้ไขเอกสารทางราชการของบุตร จำต้องขอเปลี่ยนคำนำหน้าจาก "นางสาว" เป็น "นาง" ก่อนหรือไม่ ?

A

ไม่ต้อง อีกทั้งนายทะเบียนไม่มีอำนาจเปลี่ยนแปลงคำนำหน้าของผู้นั้นด้วย

ไม่ต้อง อีกทั้งนายทะเบียนไม่มีอำนาจเปลี่ยนแปลงคำนำหน้าของผู้นั้นด้วย

Q

คำถามอื่นๆเกี่ยวกับสัญชาติและนิติกรณ์ : ศาลต่างประเทศพิพากษาให้ผู้เยาว์ไทยเป็นบุตรบุญธรรมของชาวต่างชาติโดยไม่ได้เป็นไปตามกฎหมายไทย ได้หรือไม่ ?

คำถามอื่นๆเกี่ยวกับสัญชาติและนิติกรณ์ : ศาลต่างประเทศพิพากษาให้ผู้เยาว์ไทยเป็นบุตรบุญธรรมของชาวต่างชาติโดยไม่ได้เป็นไปตามกฎหมายไทย ได้หรือไม่ ?

A

ได้ แต่ไม่มีผลตามกฎมายไทย อันมีนัยว่า ผู้เยาว์นั้นไม่สามารถใช้นามสกุลของชาวต่างชาติที่เป็นผู้รับบุตรบุญธรรมได้ แต่ผู้นั้นสามารถนำมาเป็นหลักฐานเพื่อขอให้มีการบันทึกฐานะแห่งครอบครัวเพื่อการพิสูจน์ได้อ้างอิง

ได้ แต่ไม่มีผลตามกฎมายไทย อันมีนัยว่า ผู้เยาว์นั้นไม่สามารถใช้นามสกุลของชาวต่างชาติที่เป็นผู้รับบุตรบุญธรรมได้ แต่ผู้นั้นสามารถนำมาเป็นหลักฐานเพื่อขอให้มีการบันทึกฐานะแห่งครอบครัวเพื่อการพิสูจน์ได้อ้างอิง

Q

คำถามอื่นๆเกี่ยวกับสัญชาติและนิติกรณ์ : การแก้ไขนามสกุลของผู้ที่เป็นบุตรบุญธรรมจะกระทำได้โดยวิธีใด ?

คำถามอื่นๆเกี่ยวกับสัญชาติและนิติกรณ์ : การแก้ไขนามสกุลของผู้ที่เป็นบุตรบุญธรรมจะกระทำได้โดยวิธีใด ?

A

1) หากผู้เป็นบุตรบุญธรรมบรรลุนิติภาวะแล้วสามารถดำเนินการได้ด้วยตนเอง แต่หากยังไม่บรรลุนิติภาวะ ผู้ปกครอง (บิดา-มารดาบุญธรรม) ต้องดำเนินการแทน  

2) มท. ผ่อนผันให้มีการเปลี่ยน ชื่อ/สกุล ได้ด้วยวิธี ดังต่อไปนี้ 

    2.1) กรอกแบบ ช1. 

    2.2) มีหนังสือมอบอำนาจให้ผู้อื่นในประเทศไทยไปดำเนินการแทนได้ ทั้งนี้ หนังสือมอบอำนาจนี้ต้องกระทำ ณ   สอท./สกญ.  

3) สถานที่ติดต่อหรือเปลี่ยนแปลงนามสกุล คือ ภูมิลำเนาในประเทศไทยของผู้เป็นบุตรบุญธรรม มิใช่กรมประชาสงเคราะห์

1) หากผู้เป็นบุตรบุญธรรมบรรลุนิติภาวะแล้วสามารถดำเนินการได้ด้วยตนเอง แต่หากยังไม่บรรลุนิติภาวะ ผู้ปกครอง (บิดา-มารดาบุญธรรม) ต้องดำเนินการแทน  

2) มท. ผ่อนผันให้มีการเปลี่ยน ชื่อ/สกุล ได้ด้วยวิธี ดังต่อไปนี้ 

    2.1) กรอกแบบ ช1. 

    2.2) มีหนังสือมอบอำนาจให้ผู้อื่นในประเทศไทยไปดำเนินการแทนได้ ทั้งนี้ หนังสือมอบอำนาจนี้ต้องกระทำ ณ   สอท./สกญ.  

3) สถานที่ติดต่อหรือเปลี่ยนแปลงนามสกุล คือ ภูมิลำเนาในประเทศไทยของผู้เป็นบุตรบุญธรรม มิใช่กรมประชาสงเคราะห์

Q

คำถามอื่นๆเกี่ยวกับสัญชาติและนิติกรณ์ : การขอรับเด็กที่ไม่มีสัญชาติไทยเป็นบุตรบุญธรรมกระทำได้หรือไม่ ?

คำถามอื่นๆเกี่ยวกับสัญชาติและนิติกรณ์ : การขอรับเด็กที่ไม่มีสัญชาติไทยเป็นบุตรบุญธรรมกระทำได้หรือไม่ ?

A

ได้ เพราะคำว่า "ผู้เยาว์" ตาม พ.ร.บ. การรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. 2522 มิได้จำกัดว่าจะต้องเป็นผู้เยาว์ที่มีสัญชาติไทยเท่านั้น

ได้ เพราะคำว่า "ผู้เยาว์" ตาม พ.ร.บ. การรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. 2522 มิได้จำกัดว่าจะต้องเป็นผู้เยาว์ที่มีสัญชาติไทยเท่านั้น

Q

คำถามอื่นๆเกี่ยวกับสัญชาติและนิติกรณ์ : บิดามารดาหย่ากัน ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งสามารถยกบุตรให้เป็นบุตรบุญธรรมผู้อื่น ได้หรือไม่ ?

คำถามอื่นๆเกี่ยวกับสัญชาติและนิติกรณ์ : บิดามารดาหย่ากัน ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งสามารถยกบุตรให้เป็นบุตรบุญธรรมผู้อื่น ได้หรือไม่ ?

A

ได้ หากผู้นั้นเป็นผู้มีอำนาจปกครองบุตรตามข้อตกลงการหย่า ทั้งนี้ โดยอีกฝ่ายไม่จำเป็นต้องให้ความยินยอม

ได้ หากผู้นั้นเป็นผู้มีอำนาจปกครองบุตรตามข้อตกลงการหย่า ทั้งนี้ โดยอีกฝ่ายไม่จำเป็นต้องให้ความยินยอม

Q

คำถามอื่นๆเกี่ยวกับสัญชาติและนิติกรณ์ : เมื่อสถานทูตจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมแล้วจะเปลี่ยนชื่อสกุลในหนังสือเดินทางของบุตรบุญธรรมได้ทันทีหรือไม่ ?

คำถามอื่นๆเกี่ยวกับสัญชาติและนิติกรณ์ : เมื่อสถานทูตจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมแล้วจะเปลี่ยนชื่อสกุลในหนังสือเดินทางของบุตรบุญธรรมได้ทันทีหรือไม่ ?

A

ไม่ได้ ต้องให้สำนักทะเบียนในไทยแก้ไขนามสกุลของบุตรบุญธรรมในทะเบียนบ้านก่อน หลังจากนั้น จึงแก้ไขชื่อสกุลในหนังสือเดินทาง

ไม่ได้ ต้องให้สำนักทะเบียนในไทยแก้ไขนามสกุลของบุตรบุญธรรมในทะเบียนบ้านก่อน หลังจากนั้น จึงแก้ไขชื่อสกุลในหนังสือเดินทาง

Q

คำถามอื่นๆเกี่ยวกับสัญชาติและนิติกรณ์ : ผู้ร้องนำเด็กซึ่งเป็นผู้เยาว์และไร้เดียงสา ซึ่งยังสื่อความหมายไม่ได้มาจดทะเบียนรับรองบุตร นายทะเบียนจะจดทะเบียนรับรองบุตรได้หรือไม่ ?

คำถามอื่นๆเกี่ยวกับสัญชาติและนิติกรณ์ : ผู้ร้องนำเด็กซึ่งเป็นผู้เยาว์และไร้เดียงสา ซึ่งยังสื่อความหมายไม่ได้มาจดทะเบียนรับรองบุตร นายทะเบียนจะจดทะเบียนรับรองบุตรได้หรือไม่ ?

A

หลักการของการรับรองบุตร คือ มารดาและเด็กจะต้องให้ความยินยอมทั้งสองคน ดังนั้น หากเด็กยังสื่อความหมายได้ได้ ไม่ว่าจะมีอายุเท่าใด ก็ไม่อาจจดทะเบียนรับรองบุตรได้ หรือหากมารดาเป็นคนไร้ความสามารถหรือถึงแก่ความตายก็ต้องรับรองบุตรโดยใช้คำพิพากษาของศาล

หลักการของการรับรองบุตร คือ มารดาและเด็กจะต้องให้ความยินยอมทั้งสองคน ดังนั้น หากเด็กยังสื่อความหมายได้ได้ ไม่ว่าจะมีอายุเท่าใด ก็ไม่อาจจดทะเบียนรับรองบุตรได้ หรือหากมารดาเป็นคนไร้ความสามารถหรือถึงแก่ความตายก็ต้องรับรองบุตรโดยใช้คำพิพากษาของศาล

Q

คำถามอื่นๆเกี่ยวกับสัญชาติและนิติกรณ์ : สถานทูตได้ออกสูติบัตรให้แก่ผู้ร้อง ต่อมาผู้ร้องพบว่ามีรายการในสูติบัตรผิดพลาดและผู้ร้องนั้นได้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในไทยแล้ว การแก้ไขรายการที่ผิดพลาดนี้จะกระทำที่สถานทูตหรือที่ใด ?

คำถามอื่นๆเกี่ยวกับสัญชาติและนิติกรณ์ : สถานทูตได้ออกสูติบัตรให้แก่ผู้ร้อง ต่อมาผู้ร้องพบว่ามีรายการในสูติบัตรผิดพลาดและผู้ร้องนั้นได้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในไทยแล้ว การแก้ไขรายการที่ผิดพลาดนี้จะกระทำที่สถานทูตหรือที่ใด ?

A

ที่อำเภอตามที่ปรากฏในทะเบียนบ้านของผู้นั้น

ที่อำเภอตามที่ปรากฏในทะเบียนบ้านของผู้นั้น

Q

คำถามอื่นๆเกี่ยวกับสัญชาติและนิติกรณ์ : หากบิดามารดาจดทะเบียสมรส กันภายหลังมีบุตรแล้วบุตรนั้นจะกลายเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตั้งแต่เมื่อใด ?

คำถามอื่นๆเกี่ยวกับสัญชาติและนิติกรณ์ : หากบิดามารดาจดทะเบียสมรส กันภายหลังมีบุตรแล้วบุตรนั้นจะกลายเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตั้งแต่เมื่อใด ?

A

ตั้งแต่วันที่บิดามารดาจดทะเบียนฯ

ตั้งแต่วันที่บิดามารดาจดทะเบียนฯ

Q

คำถามอื่นๆเกี่ยวกับสัญชาติและนิติกรณ์ : ชายไทยที่นับถือศาสนาอิสลามจะตั้งชื่อเป็นสำเนียงอาหรับ หรือมีชื่อเหมือนกับบุคคลหรือถ้อยคำในคัมภีร์อัลกุรอานได้หรือไม่ ?

คำถามอื่นๆเกี่ยวกับสัญชาติและนิติกรณ์ : ชายไทยที่นับถือศาสนาอิสลามจะตั้งชื่อเป็นสำเนียงอาหรับ หรือมีชื่อเหมือนกับบุคคลหรือถ้อยคำในคัมภีร์อัลกุรอานได้หรือไม่ ?

A

ได้ หากชื่อนั้นไม่มีคำหรือความหมายที่หยาบคาย

ได้ หากชื่อนั้นไม่มีคำหรือความหมายที่หยาบคาย

Q

คำถามอื่นๆเกี่ยวกับสัญชาติและนิติกรณ์ : หากบิดาเป็นชาวจีนบุตรต้องใช้คำว่า

คำถามอื่นๆเกี่ยวกับสัญชาติและนิติกรณ์ : หากบิดาเป็นชาวจีนบุตรต้องใช้คำว่า

A

นามสกุลของบุตรต้องพิจารณาจากนามสกุลที่แท้จริงของบิดาหากนามสกุลของบิดามีคำว่า "แซ่" ปรากฏอยู่ นามสกุลบุตรก็ต้องมีคำว่า "แซ่" เช่นกันหากไม่มี "แซ่" นามสกุลบุตรก็จะต้องไม่มี "แซ่" เช่นกัน

นามสกุลของบุตรต้องพิจารณาจากนามสกุลที่แท้จริงของบิดาหากนามสกุลของบิดามีคำว่า "แซ่" ปรากฏอยู่ นามสกุลบุตรก็ต้องมีคำว่า "แซ่" เช่นกันหากไม่มี "แซ่" นามสกุลบุตรก็จะต้องไม่มี "แซ่" เช่นกัน

Q

คำถามอื่นๆเกี่ยวกับสัญชาติและนิติกรณ์ : สถานทูตสามารถออกสูติบัตรให้แก่บุตรของคนไทยที่อยู่ในต่างประเทศโดยผิดกฎหมาย ได้หรือไม่ ?

คำถามอื่นๆเกี่ยวกับสัญชาติและนิติกรณ์ : สถานทูตสามารถออกสูติบัตรให้แก่บุตรของคนไทยที่อยู่ในต่างประเทศโดยผิดกฎหมาย ได้หรือไม่ ?

A

ได้

ได้

Q

คำถามอื่นๆเกี่ยวกับสัญชาติและนิติกรณ์ : บิดาและมารดา ไม่ได้จดทะเบียนฯ กันบุตรจะใช้นามสกุลของบิดา ได้หรือไม่ ?

คำถามอื่นๆเกี่ยวกับสัญชาติและนิติกรณ์ : บิดาและมารดา ไม่ได้จดทะเบียนฯ กันบุตรจะใช้นามสกุลของบิดา ได้หรือไม่ ?

A

ได้ หากทั้งบิดาและมารดายินยอมเช่นนั้น ส่วนสถานทูตในฐานะนายทะเบียนจะต้องทำบันทึกสอบปากคำไว้ด้วย

ได้ หากทั้งบิดาและมารดายินยอมเช่นนั้น ส่วนสถานทูตในฐานะนายทะเบียนจะต้องทำบันทึกสอบปากคำไว้ด้วย

Q

คำถามอื่นๆเกี่ยวกับสัญชาติและนิติกรณ์ : ในการออกสูติบัตร เด็กจะใช้นามสกุลของมารดา หรือบิดา ?

คำถามอื่นๆเกี่ยวกับสัญชาติและนิติกรณ์ : ในการออกสูติบัตร เด็กจะใช้นามสกุลของมารดา หรือบิดา ?

A

1) หากบิดามารดาจดทะเบียนสมรส : ให้ใช้ชื่อสกุลบิดาได้ แต่หากทั้งบิดาและมารดายินยอม เด็กจะใช้นามสกุลของมารดาแทนก็ได้ (สถานทูตต้องสอบปากคำและบันทึกไว้)  2) หากบิดามารดาไม่จดทะเบียนฯ : ให้ใช้นามสกุลมารดาได้ หากจะใช้ นามสกุลบิดา มารดาต้องให้ความยินยอมก่อน หากใบเกิดท้องถิ่นของบุตรใช้นามสกุลบิดาให้สอบปากคำมารดาว่ายินยอมให้บุตรใช้นามสกุลบิดาหรือไม่หากยินยอมให้ออกสูติบัตรตามนั้น

1) หากบิดามารดาจดทะเบียนสมรส : ให้ใช้ชื่อสกุลบิดาได้ แต่หากทั้งบิดาและมารดายินยอม เด็กจะใช้นามสกุลของมารดาแทนก็ได้ (สถานทูตต้องสอบปากคำและบันทึกไว้)  2) หากบิดามารดาไม่จดทะเบียนฯ : ให้ใช้นามสกุลมารดาได้ หากจะใช้ นามสกุลบิดา มารดาต้องให้ความยินยอมก่อน หากใบเกิดท้องถิ่นของบุตรใช้นามสกุลบิดาให้สอบปากคำมารดาว่ายินยอมให้บุตรใช้นามสกุลบิดาหรือไม่หากยินยอมให้ออกสูติบัตรตามนั้น

Q

คำถามอื่นๆเกี่ยวกับสัญชาติและนิติกรณ์ : กรณีบิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน การออกสูติบัตรควรระบุคำว่า "ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย" หรือ "บิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรส" หรือไม่ ?

คำถามอื่นๆเกี่ยวกับสัญชาติและนิติกรณ์ : กรณีบิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน การออกสูติบัตรควรระบุคำว่า "ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย" หรือ "บิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรส" หรือไม่ ?

A

ไม่สมควร การระบุชื่อบิดาในสูติบัตรบุตรให้ระบุชื่อผู้เป็นบิดาตามความเป็นจริง ในกรณีที่ เอกสารรับรองการเกิดท้องถิ่นไม่ได้ระบุชื่อผู้เป็นบิดา ให้สถานทูตสอบปากคำมารดาเด็กหรือผู้ที่ถูกอ้างว่าเป็นบิดา แล้วให้ลงชื่อบิดาในสูติบัตรตามความเป็นจริง จะทำให้สะดวกต่อการจดทะเบียนรับรองบุตรหรือทำให้บุตรเป็นบุตรที่ถูกต้องตามกฎหมาย

ไม่สมควร การระบุชื่อบิดาในสูติบัตรบุตรให้ระบุชื่อผู้เป็นบิดาตามความเป็นจริง ในกรณีที่ เอกสารรับรองการเกิดท้องถิ่นไม่ได้ระบุชื่อผู้เป็นบิดา ให้สถานทูตสอบปากคำมารดาเด็กหรือผู้ที่ถูกอ้างว่าเป็นบิดา แล้วให้ลงชื่อบิดาในสูติบัตรตามความเป็นจริง จะทำให้สะดวกต่อการจดทะเบียนรับรองบุตรหรือทำให้บุตรเป็นบุตรที่ถูกต้องตามกฎหมาย

Q

ปัจจุบันการรับรองนิติกรณ์เอกสารใช้วิธีตรวจสอบลายมือชื่อของหน่วยงานที่ออกเอกสารอย่างไร (2)

ปัจจุบันการรับรองนิติกรณ์เอกสารใช้วิธีตรวจสอบลายมือชื่อของหน่วยงานที่ออกเอกสารอย่างไร (2)

A

การรับรองนิติกรณ์เอกสาร ประเภทการรับรองลายมือชื่อของผู็มีอำนาจในการลงนามในเอกสารของหน่วยงานต่างๆ นั้น โดยปกติหน่วยงานผู็ออกเอกสารจะมีหนังสือแจ้ง กต. เรื่องรายชื่อผู้มีอำนาจลงนามในเอกสาร พร้อมกับตัวอย่างลายมือชื่อของเจ้าหน้าที่ โดยกองสัญชาติฯ จะสแกนเก็บภาพตัวอย่างลายมือชื่อไว้ในระบบการรับรองนิติกรณ์เอกสาร (และจัดเก็บหนังสือดังกล่าวไว้ในแฟ้ม) เมื่อประชาชนนำเอกสารจากหน่วยงานนั้นๆ มาขอรับรองนิติกรณ์เอกสาร เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบลายมือชื่อที่ปรากฎในเอกสาร เทียบเคียงกับภาพตัวอย่างลายมือชื่อที่สแกนเก็บไว้ โดยจะค้นหาจากการพิมพ์ชื่อบุคคล หรือชื่อหน่วยงานนั้นๆ ในระบบจะรับรองนิติกรณ์เอกสาร

การรับรองนิติกรณ์เอกสาร ประเภทการรับรองลายมือชื่อของผู็มีอำนาจในการลงนามในเอกสารของหน่วยงานต่างๆ นั้น โดยปกติหน่วยงานผู็ออกเอกสารจะมีหนังสือแจ้ง กต. เรื่องรายชื่อผู้มีอำนาจลงนามในเอกสาร พร้อมกับตัวอย่างลายมือชื่อของเจ้าหน้าที่ โดยกองสัญชาติฯ จะสแกนเก็บภาพตัวอย่างลายมือชื่อไว้ในระบบการรับรองนิติกรณ์เอกสาร (และจัดเก็บหนังสือดังกล่าวไว้ในแฟ้ม) เมื่อประชาชนนำเอกสารจากหน่วยงานนั้นๆ มาขอรับรองนิติกรณ์เอกสาร เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบลายมือชื่อที่ปรากฎในเอกสาร เทียบเคียงกับภาพตัวอย่างลายมือชื่อที่สแกนเก็บไว้ โดยจะค้นหาจากการพิมพ์ชื่อบุคคล หรือชื่อหน่วยงานนั้นๆ ในระบบจะรับรองนิติกรณ์เอกสาร

Q

ปัจจุบันการรับรองนิติกรณ์เอกสารใช้วิธีตรวจสอบลายมือชื่อของหน่วยงานที่ออกเอกสารอย่างไร

ปัจจุบันการรับรองนิติกรณ์เอกสารใช้วิธีตรวจสอบลายมือชื่อของหน่วยงานที่ออกเอกสารอย่างไร

A

ปัจจุบันการรับรองนิติกรณ์เอกสารใช้วิธีตรวจสอบลายมือชื่อของหน่วยงานที่ออกเอกสารอย่างไร

- การรับรองนิติกรณ์เอกสาร ประเภทรับรองลายมือชื่อของผูมีอำนาจในการลงนามในเอกสารของหน่วยงานต่างๆ นั้น โดยปกติหน่วยงานผู้ออกเอกสารจะมีหนังสือแจ้ง กต. เรื่องรายชื่อผู้มีอำนาจลงนามในเอกสาร พร้อมกับตัวอย่างลายมือชื่อของเจ้าหน้าที่ โดยกองสัญชาติฯ จะสแกนภาพตัวอย่างลสายมือชื่อเก็บไว้ในระบบการรับรองนิติกรณ์เอกสาร (และจัดเก็บหนังสือดังกล่าวไว้ในแฟ้ม) เมื่อประชาชนนำเกวสารที่ออกจากหน่วยงานนั้นๆ มาขอรับรองนิติกรณ์เอกสาร เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบลายมือชื่อที่ปรากฎในเอกสาร เทียบเคียงกับภาพตัวอย่างลายมือชื่อที่สแกนเก็บไว้ โดยจะค้นหาจากการพิมพ์ชื่อบุคคล หรือชื่อหน่วยงานนั้นๆ ในระบบรังรองนิติกรณ์เอกสาร

ปัจจุบันการรับรองนิติกรณ์เอกสารใช้วิธีตรวจสอบลายมือชื่อของหน่วยงานที่ออกเอกสารอย่างไร

- การรับรองนิติกรณ์เอกสาร ประเภทรับรองลายมือชื่อของผูมีอำนาจในการลงนามในเอกสารของหน่วยงานต่างๆ นั้น โดยปกติหน่วยงานผู้ออกเอกสารจะมีหนังสือแจ้ง กต. เรื่องรายชื่อผู้มีอำนาจลงนามในเอกสาร พร้อมกับตัวอย่างลายมือชื่อของเจ้าหน้าที่ โดยกองสัญชาติฯ จะสแกนภาพตัวอย่างลสายมือชื่อเก็บไว้ในระบบการรับรองนิติกรณ์เอกสาร (และจัดเก็บหนังสือดังกล่าวไว้ในแฟ้ม) เมื่อประชาชนนำเกวสารที่ออกจากหน่วยงานนั้นๆ มาขอรับรองนิติกรณ์เอกสาร เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบลายมือชื่อที่ปรากฎในเอกสาร เทียบเคียงกับภาพตัวอย่างลายมือชื่อที่สแกนเก็บไว้ โดยจะค้นหาจากการพิมพ์ชื่อบุคคล หรือชื่อหน่วยงานนั้นๆ ในระบบรังรองนิติกรณ์เอกสาร

Q

ตรวจลงตราและเอกสารเดินทางคนต่างด้าว : visa คืออะไรครับ คนไทยต้องใช้หรือไม่ครับ

ตรวจลงตราและเอกสารเดินทางคนต่างด้าว : visa คืออะไรครับ คนไทยต้องใช้หรือไม่ครับ

A

เวลาที่จะเดินทางไปต่างประเทศ สิ่งที่จำเป็นต้องมีก็คือ 

(1) หนังสือเดินทาง 
(2) visa เข้าประเทศนั้นในหนังสือเดินทาง 
(3) ตั๋วเครื่องบิน 
(4) เงินสำหรับใช้จ่าย เป็นเงินสกุลท้องถิ่นหรือเงินสกุลหลักที่ประเทศนั้นๆ ยอมรับค่ะ 

สรุปอย่างง่ายๆ  visa คือการขออนุญาตเข้าประเทศอื่นค่ะ  คนไทยต้องมี visa ก่อนที่จะเดินทางไปประเทศต่างๆ ค่ะ 

เวลาที่จะเดินทางไปต่างประเทศ สิ่งที่จำเป็นต้องมีก็คือ 

(1) หนังสือเดินทาง 
(2) visa เข้าประเทศนั้นในหนังสือเดินทาง 
(3) ตั๋วเครื่องบิน 
(4) เงินสำหรับใช้จ่าย เป็นเงินสกุลท้องถิ่นหรือเงินสกุลหลักที่ประเทศนั้นๆ ยอมรับค่ะ 

สรุปอย่างง่ายๆ  visa คือการขออนุญาตเข้าประเทศอื่นค่ะ  คนไทยต้องมี visa ก่อนที่จะเดินทางไปประเทศต่างๆ ค่ะ 

Q

ตรวจลงตราและเอกสารเดินทางคนต่างด้าว : ทราบมาว่ามีบางประเทศที่คนไทยไม่ต้องขอ visa ก่อนเข้าประเทศของเขา ใช่ไหมครับ

ตรวจลงตราและเอกสารเดินทางคนต่างด้าว : ทราบมาว่ามีบางประเทศที่คนไทยไม่ต้องขอ visa ก่อนเข้าประเทศของเขา ใช่ไหมครับ

A

ถูกต้องค่ะ  มีหลายประเทศที่รัฐบาลเราไปทำความตกลงเอาไว้เพื่อให้เดินทางไปมากันได้สะดวกและมีอีกหลายประเทศที่เขาอำนวยความสะดวกให้คนไทยเป็นพิเศษ  ปัจจุบัน (สิงหาคม 2555) มีอยู่ 23 ประเทศ/เขตเศรษฐกิจ ที่ผู้ถือหนังสือเดินทางธรรมดาของไทยสามารถเดินทางเข้าไปท่องเที่ยวได้โดยไม่ต้องใช้ visa ได้แก่ 

1. อาร์เจนตินา (อยู่ได้ 90 วัน)

2. บาห์เรน (อยู่ได้ 15 วัน)

3. บราซิล (90 วัน)

4. บรูไน (14 วัน)

5. กัมพูชา (14 วัน)

6. ชิลี (90 วัน)

7. เอกวาดอร์ (90 วัน)

8. ฮ่องกง (30 วัน)

9. อินโดนีเซีย (30 วัน)

10. เกาหลีใต้ (90 วัน)

11. ลาว (30 วัน)

12. มาเก๊า (30 วัน)

13. มองโกเลีย (30 วัน)

14. มาเลเซีย (30 วัน)

15. มัลดีฟส์ (30 วัน)

16. เปรู (90 วัน)

17. ฟิลิปปินส์ (21 วัน)

18. รัสเซีย (30 วัน)

19. เซเชลส์ (30 วัน)

20. สิงคโปร์ (30 วัน)

21. แอฟริกาใต้ (30 วัน)

22. ตุรกี (30 วัน)

23.เวียดนาม (30 วัน)

สำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางทูตและราชการ ปัจจุบัน รัฐบาลไทยก็มีความตกลงกับ 60 ประเทศ ให้สามารถเดินทางไปราชการได้โดยไม่ต้องใช้ visa  รายชื่อประเทศดูได้ใน www.consular.go.th ในหน้าของกองตรวจลงตราฯ ค่ะ 

ถูกต้องค่ะ  มีหลายประเทศที่รัฐบาลเราไปทำความตกลงเอาไว้เพื่อให้เดินทางไปมากันได้สะดวกและมีอีกหลายประเทศที่เขาอำนวยความสะดวกให้คนไทยเป็นพิเศษ  ปัจจุบัน (สิงหาคม 2555) มีอยู่ 23 ประเทศ/เขตเศรษฐกิจ ที่ผู้ถือหนังสือเดินทางธรรมดาของไทยสามารถเดินทางเข้าไปท่องเที่ยวได้โดยไม่ต้องใช้ visa ได้แก่ 

1. อาร์เจนตินา (อยู่ได้ 90 วัน)

2. บาห์เรน (อยู่ได้ 15 วัน)

3. บราซิล (90 วัน)

4. บรูไน (14 วัน)

5. กัมพูชา (14 วัน)

6. ชิลี (90 วัน)

7. เอกวาดอร์ (90 วัน)

8. ฮ่องกง (30 วัน)

9. อินโดนีเซีย (30 วัน)

10. เกาหลีใต้ (90 วัน)

11. ลาว (30 วัน)

12. มาเก๊า (30 วัน)

13. มองโกเลีย (30 วัน)

14. มาเลเซีย (30 วัน)

15. มัลดีฟส์ (30 วัน)

16. เปรู (90 วัน)

17. ฟิลิปปินส์ (21 วัน)

18. รัสเซีย (30 วัน)

19. เซเชลส์ (30 วัน)

20. สิงคโปร์ (30 วัน)

21. แอฟริกาใต้ (30 วัน)

22. ตุรกี (30 วัน)

23.เวียดนาม (30 วัน)

สำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางทูตและราชการ ปัจจุบัน รัฐบาลไทยก็มีความตกลงกับ 60 ประเทศ ให้สามารถเดินทางไปราชการได้โดยไม่ต้องใช้ visa  รายชื่อประเทศดูได้ใน www.consular.go.th ในหน้าของกองตรวจลงตราฯ ค่ะ 

Q

ตรวจลงตราและเอกสารเดินทางคนต่างด้าว : ตรวจดูรายชื่อประเทศแล้ว การไปหลายๆ ประเทศยังต้องขอ visa ก่อน เช่น สหรัฐอเมริกา จีน ญีปุ่น อังกฤษ จะต้องทำอย่างไรเพื่อจะได้ visa ครับ

ตรวจลงตราและเอกสารเดินทางคนต่างด้าว : ตรวจดูรายชื่อประเทศแล้ว การไปหลายๆ ประเทศยังต้องขอ visa ก่อน เช่น สหรัฐอเมริกา จีน ญีปุ่น อังกฤษ จะต้องทำอย่างไรเพื่อจะได้ visa ครับ

A

ที่ที่เราจะไปขอ visa ก็คือสถานทูตของประเทศที่เราจะไป เช่น จะไปสหรัฐฯ ก็ต้องขอ visaที่สถานทูตสหรัฐฯ ในกรุงเทพฯ หรือสถานกงสุลสหรัฐที่เชียงใหม่ เป็นต้น  ต้องใช้เอกสารหลักฐานอะไรบ้าง ก็ต้องสอบถามกับสถานทูตของประเทศนั้นๆ ค่ะ

ที่ที่เราจะไปขอ visa ก็คือสถานทูตของประเทศที่เราจะไป เช่น จะไปสหรัฐฯ ก็ต้องขอ visaที่สถานทูตสหรัฐฯ ในกรุงเทพฯ หรือสถานกงสุลสหรัฐที่เชียงใหม่ เป็นต้น  ต้องใช้เอกสารหลักฐานอะไรบ้าง ก็ต้องสอบถามกับสถานทูตของประเทศนั้นๆ ค่ะ

Q

ตรวจลงตราและเอกสารเดินทางคนต่างด้าว : ไปเที่ยวอย่างเดียวกับไปทำอย่างอื่น visa แตกต่างกันไหมครับ

ตรวจลงตราและเอกสารเดินทางคนต่างด้าว : ไปเที่ยวอย่างเดียวกับไปทำอย่างอื่น visa แตกต่างกันไหมครับ

A

วัตถุประสงค์ของการเดินทางก็เป็นปัจจัยสำคัญค่ะ เช่น การไปเที่ยวกับการไปเรียน ก็ต้องใช้ visaคนละประเภท และเอกสารหลักฐานในการขอก็ไม่เหมือนกัน ค่าธรรมเนียมไม่เท่ากัน และระยะเวลาที่จะได้รับอนุญาตให้อยู่ในประเทศของเขาก็แตกต่างกันด้วยค่ะ 

ต้องขอให้จำไว้เสมอนะคะว่า การไปอยู่ในประเทศอื่นนั้น หากไม่ได้พำนักอยู่โดยมีวัตถุประสงค์แบบเดียวกับที่ตอนที่ขอ visa ไว้ เป็นการผิดกฎหมายนะคะ เช่น ขอ visa ไปเที่ยว แต่จริงๆ ไปทำงาน

วัตถุประสงค์ของการเดินทางก็เป็นปัจจัยสำคัญค่ะ เช่น การไปเที่ยวกับการไปเรียน ก็ต้องใช้ visaคนละประเภท และเอกสารหลักฐานในการขอก็ไม่เหมือนกัน ค่าธรรมเนียมไม่เท่ากัน และระยะเวลาที่จะได้รับอนุญาตให้อยู่ในประเทศของเขาก็แตกต่างกันด้วยค่ะ 

ต้องขอให้จำไว้เสมอนะคะว่า การไปอยู่ในประเทศอื่นนั้น หากไม่ได้พำนักอยู่โดยมีวัตถุประสงค์แบบเดียวกับที่ตอนที่ขอ visa ไว้ เป็นการผิดกฎหมายนะคะ เช่น ขอ visa ไปเที่ยว แต่จริงๆ ไปทำงาน

Q

ตรวจลงตราและเอกสารเดินทางคนต่างด้าว : ผมเป็นนักธุรกิจ ต้องเดินทางไปต่างประเทศบ่อยมาก โดยเฉพาะในประเทศเพื่อนบ้าน และจีน มีคำแนะนำไหมครับ

ตรวจลงตราและเอกสารเดินทางคนต่างด้าว : ผมเป็นนักธุรกิจ ต้องเดินทางไปต่างประเทศบ่อยมาก โดยเฉพาะในประเทศเพื่อนบ้าน และจีน มีคำแนะนำไหมครับ

A

ไทยเป็นสมาชิกของ APEC (Asia-Pacific Economic Cooperation) ซึ่งในกรอบความร่วมมือนี้ก็มีการทำความตกลงให้นักธุรกิจเดินทางไปมาภายใน APEC ได้โดยสะดวกค่ะ 


นักธุรกิจไทยสามารถยื่นคำร้องขอมี ABTC (APEC Business Travel Card) ซึ่งจะอำนวยความสะดวกในการเดินทางไปประกอบธุรกิจในอีก 18 ประเทศ/เขตเศรษฐกิจ คือ ออสเตรเลีย บรูไน ชิลี จีน ฮ่องกง อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเลเซีย เม็กซิโก นิวซีแลนด์ เปรู ฟิลิปปินส์ ปาปัวนิวกินี สิงคโปร์ จีนไทเป และเวียดนาม โดยไม่ต้องไปขอ visa กับสถานทูตแต่ละประเทศเลยค่ะ

นักธุรกิจที่สนใจสามารถยื่นคำร้องและสอบถามรายละเอียดได้จากคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน(กกร.) ได้ที่หมายเลข 0-2225-5474 หรือ 0-2622-1111 ต่อ 649 ค่ะ

ไทยเป็นสมาชิกของ APEC (Asia-Pacific Economic Cooperation) ซึ่งในกรอบความร่วมมือนี้ก็มีการทำความตกลงให้นักธุรกิจเดินทางไปมาภายใน APEC ได้โดยสะดวกค่ะ 


นักธุรกิจไทยสามารถยื่นคำร้องขอมี ABTC (APEC Business Travel Card) ซึ่งจะอำนวยความสะดวกในการเดินทางไปประกอบธุรกิจในอีก 18 ประเทศ/เขตเศรษฐกิจ คือ ออสเตรเลีย บรูไน ชิลี จีน ฮ่องกง อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเลเซีย เม็กซิโก นิวซีแลนด์ เปรู ฟิลิปปินส์ ปาปัวนิวกินี สิงคโปร์ จีนไทเป และเวียดนาม โดยไม่ต้องไปขอ visa กับสถานทูตแต่ละประเทศเลยค่ะ

นักธุรกิจที่สนใจสามารถยื่นคำร้องและสอบถามรายละเอียดได้จากคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน(กกร.) ได้ที่หมายเลข 0-2225-5474 หรือ 0-2622-1111 ต่อ 649 ค่ะ

Q

ตรวจลงตราและเอกสารเดินทางคนต่างด้าว : เพื่อนผมบอกว่า ถ้าไปยุโรป ขอ visa ครั้งเดียว เข้าได้หลายประเทศ

ตรวจลงตราและเอกสารเดินทางคนต่างด้าว : เพื่อนผมบอกว่า ถ้าไปยุโรป ขอ visa ครั้งเดียว เข้าได้หลายประเทศ

A

ประเทศในยุโรป จำนวน 24 ประเทศ มีการทำความตกลงกันโดยการออก visa พิเศษ ที่มีชื่อว่า “Schengen Visa” เพื่ออำนวยความสะดวกให้คนประเทศต่างๆ ค่ะ  คนไทยก็มีสิทธิขอ visa นี้ค่ะ 

ผู้ที่มี Schengen Visa สามารถเดินทางเข้าประเทศเหล่านี้โดยไม่ต้องขอ visa กับทุกประเทศอีก : ออสเตรีย เบลเยียม เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี ไอซ์แลนด์ อิตาลี กรีซ ลักเซมเบิร์ก  เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ โปรตุเกส สเปน สวีเดน เช็ค เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิธัวเนีย ฮังการี มอลตา โปแลนด์ สโลวีเนีย และสโลวาเกีย

คุณจะสามารถพำนักอยู่ได้รวมทั้งสิ้นไม่เกิน 90 วัน ภายในระยะเวลา 6 เดือน  ขอทราบรายละเอียดและยื่นคำร้องขอ Schengen Visa ได้ที่สถานทูตประเทศดังกล่าวค่ะ  ทั้งนี้ การยื่นขอ Schengen Visa จะต้องเป็นการขอที่สถานทูตของประเทศที่คุณจะไปพำนักอยู่นานที่สุด แต่หากไม่สามารถระบุได้ชัดเจน ก็ต้องไปขอที่สถานทูตของประเทศแรกที่จะเดินทางเข้าค่ะ  

ประเทศในยุโรป จำนวน 24 ประเทศ มีการทำความตกลงกันโดยการออก visa พิเศษ ที่มีชื่อว่า “Schengen Visa” เพื่ออำนวยความสะดวกให้คนประเทศต่างๆ ค่ะ  คนไทยก็มีสิทธิขอ visa นี้ค่ะ 

ผู้ที่มี Schengen Visa สามารถเดินทางเข้าประเทศเหล่านี้โดยไม่ต้องขอ visa กับทุกประเทศอีก : ออสเตรีย เบลเยียม เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี ไอซ์แลนด์ อิตาลี กรีซ ลักเซมเบิร์ก  เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ โปรตุเกส สเปน สวีเดน เช็ค เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิธัวเนีย ฮังการี มอลตา โปแลนด์ สโลวีเนีย และสโลวาเกีย

คุณจะสามารถพำนักอยู่ได้รวมทั้งสิ้นไม่เกิน 90 วัน ภายในระยะเวลา 6 เดือน  ขอทราบรายละเอียดและยื่นคำร้องขอ Schengen Visa ได้ที่สถานทูตประเทศดังกล่าวค่ะ  ทั้งนี้ การยื่นขอ Schengen Visa จะต้องเป็นการขอที่สถานทูตของประเทศที่คุณจะไปพำนักอยู่นานที่สุด แต่หากไม่สามารถระบุได้ชัดเจน ก็ต้องไปขอที่สถานทูตของประเทศแรกที่จะเดินทางเข้าค่ะ  

Q

ตรวจลงตราและเอกสารเดินทางคนต่างด้าว : ผมถือหนังสือเดินทางราชการ กำลังจะไปประชุมที่กรุงเวียนนา โดยจะไปเปลี่ยนเครื่องที่สนามบินกรุงเอเธนส์ ทราบมาว่าถ้าเดินทางผ่านกรีซเพื่อเปลี่ยนเครื่องอย่างเดียวไม่ต้องขอ visa และไทยก็มีความตกลงกับออสเตรียในการยกเว้นการตรวจลงตราหนังสือเดินทางทูตและราชการ ดังนั้น การเดินทางของผมครั้งนี้ ไม่จำเป็นต้องขอ visa เลยใช่ไหมครับ?

ตรวจลงตราและเอกสารเดินทางคนต่างด้าว : ผมถือหนังสือเดินทางราชการ กำลังจะไปประชุมที่กรุงเวียนนา โดยจะไปเปลี่ยนเครื่องที่สนามบินกรุงเอเธนส์ ทราบมาว่าถ้าเดินทางผ่านกรีซเพื่อเปลี่ยนเครื่องอย่างเดียวไม่ต้องขอ visa และไทยก็มีความตกลงกับออสเตรียในการยกเว้นการตรวจลงตราหนังสือเดินทางทูตและราชการ ดังนั้น การเดินทางของผมครั้งนี้ ไม่จำเป็นต้องขอ visa เลยใช่ไหมครับ?

A

กรณีนี้ ต้องขอ Schengen Visa ก่อนค่ะ แม้ว่าคุณถือหนังสือเดินทางราชการก็ตาม  ทางการกรีซแจ้งว่า ผู้ถือหนังสือเดินทางไทยทุกประเภท หากเดินทางผ่านกรีซไปประเทศ Schengen อื่น โดยกรีซเป็นประเทศแรกของ Schengen ที่เดินทางเข้า บุคคลผู้นั้นจะต้องขอ Schengen Visa ก่อนการเดินทาง ไม่ว่าประเทศ Schengen ที่เดินทางเข้าต่อจากนั้น จะมีความตกลงในการยกเว้นการตรวจลงตรากับไทยหรือไม่ก็ตามค่ะ      

 ในขณะเดียวกัน หากเป็นการเดินทางผ่านกรีซเพื่อขึ้นเครื่องบินต่อไปประเทศอื่นที่ไม่ใช่ Schengen  โดยไม่ออกไปนอกท่าอากาศยานกรุงเอเธนส์  ผู้ถือหนังสือเดินทางไทยทุกประเภทไม่จำเป็นต้องขอ visa เข้ากรีซก่อนการเดินทางค่ะ

ประเทศ Schengen มี 24 ประเทศ                  

    :  ออสเตรีย เบลเยียม เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส  เยอรมนี ไอซ์แลนด์ อิตาลี กรีซ ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ โปรตุเกส  สเปน  สวีเดน เช็ค เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิธัวเนีย ฮังการี มอลตา โปแลนด์ สโลวีเนีย และสโลวาเกีย

 

  • ประเทศ Schengen ที่มีความตกลง ยกเว้นการตรวจลงตราหนังสือเดินทางทูตและราชการกับไทย 10 ประเทศ

             :  ออสเตรีย เบลเยียม เยอรมนี อิตาลี ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์  เช็ค ฮังการี โปแลนด์ และสโลวาเกีย

  • ประเทศ Schengen ที่ประกาศยกเว้น การตรวจลงตราหนังสือเดินทางทูตและราชการให้ไทยฝ่ายเดียว 4 ประเทศ

            :  เดนมาร์ก ฟินแลนด์ นอร์เวย์ และสวีเดน

  •  ประเทศ Schengen ที่ผู้ถือหนังสือทูตและราชการของไทยต้องขอรับการตรวจลงตรา 10 ประเทศ         

            :  ฝรั่งเศส ไอซ์แลนด์ กรีซ โปรตุเกส สเปน เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิธัวเนีย มอลตา และสโลวีเนีย

กรณีนี้ ต้องขอ Schengen Visa ก่อนค่ะ แม้ว่าคุณถือหนังสือเดินทางราชการก็ตาม  ทางการกรีซแจ้งว่า ผู้ถือหนังสือเดินทางไทยทุกประเภท หากเดินทางผ่านกรีซไปประเทศ Schengen อื่น โดยกรีซเป็นประเทศแรกของ Schengen ที่เดินทางเข้า บุคคลผู้นั้นจะต้องขอ Schengen Visa ก่อนการเดินทาง ไม่ว่าประเทศ Schengen ที่เดินทางเข้าต่อจากนั้น จะมีความตกลงในการยกเว้นการตรวจลงตรากับไทยหรือไม่ก็ตามค่ะ      

 ในขณะเดียวกัน หากเป็นการเดินทางผ่านกรีซเพื่อขึ้นเครื่องบินต่อไปประเทศอื่นที่ไม่ใช่ Schengen  โดยไม่ออกไปนอกท่าอากาศยานกรุงเอเธนส์  ผู้ถือหนังสือเดินทางไทยทุกประเภทไม่จำเป็นต้องขอ visa เข้ากรีซก่อนการเดินทางค่ะ

ประเทศ Schengen มี 24 ประเทศ                  

    :  ออสเตรีย เบลเยียม เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส  เยอรมนี ไอซ์แลนด์ อิตาลี กรีซ ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ โปรตุเกส  สเปน  สวีเดน เช็ค เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิธัวเนีย ฮังการี มอลตา โปแลนด์ สโลวีเนีย และสโลวาเกีย

 

  • ประเทศ Schengen ที่มีความตกลง ยกเว้นการตรวจลงตราหนังสือเดินทางทูตและราชการกับไทย 10 ประเทศ

             :  ออสเตรีย เบลเยียม เยอรมนี อิตาลี ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์  เช็ค ฮังการี โปแลนด์ และสโลวาเกีย

  • ประเทศ Schengen ที่ประกาศยกเว้น การตรวจลงตราหนังสือเดินทางทูตและราชการให้ไทยฝ่ายเดียว 4 ประเทศ

            :  เดนมาร์ก ฟินแลนด์ นอร์เวย์ และสวีเดน

  •  ประเทศ Schengen ที่ผู้ถือหนังสือทูตและราชการของไทยต้องขอรับการตรวจลงตรา 10 ประเทศ         

            :  ฝรั่งเศส ไอซ์แลนด์ กรีซ โปรตุเกส สเปน เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิธัวเนีย มอลตา และสโลวีเนีย

Q

ตรวจลงตราและเอกสารเดินทางคนต่างด้าว : กองตรวจลงตราฯ ที่กรมการกงสุล มีหน้าที่อะไรเกี่ยวกับ visa ครับ

ตรวจลงตราและเอกสารเดินทางคนต่างด้าว : กองตรวจลงตราฯ ที่กรมการกงสุล มีหน้าที่อะไรเกี่ยวกับ visa ครับ

A

หน้าที่หลักของกองตรวจลงตราฯ คือการดูแลการออก visa ของสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลของไทยในต่างประเทศสำหรับคนต่างชาติที่จะเดินทางเข้าเมืองไทยค่ะ นอกจากนี้ กองตรวจลงตราฯ ก็มีหน้าที่เกี่ยวกับการอนุญาตให้คนต่างชาติที่เป็นนักการทูตหรือเจ้าหน้าที่องค์การระหว่างประเทศที่พำนักอยู่ในเมืองไทย เดินทางกลับเข้าเมืองไทยได้อีก(Re-entry)

หากคนต่างชาติทั่วไปที่อยู่ในเมืองไทย ต้องการติดต่อเรื่อง visa ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเปลี่ยนประเภท visa หรือการขอขยายเวลาการพำนักในเมืองไทย ต้องติดต่อที่สำนักงาน ต.ม. ศูนย์ราชการฯ ถนนแจ้งวัฒนะค่ะ  โทรศัพท์ไปสอบถามก่อนได้ที่หมายเลข 0-2141-9889  0-2141-9900 ถึง 10


อนึ่ง กองตรวจลงตราฯ ก็สามารถให้คำแนะนำเบื้องต้นเกี่ยวกับการขอ visa ไปต่างประเทศของคนไทยได้ค่ะ แต่ข้อมูลในรายละเอียดจะต้องไปสอบถามจากสถานทูตของประเทศนั้นๆ ในเมืองไทย
เพราะเป็นอำนาจของแต่ละประเทศในการออก visa ให้คนต่างชาติเข้าประเทศของเขา

หน้าที่หลักของกองตรวจลงตราฯ คือการดูแลการออก visa ของสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลของไทยในต่างประเทศสำหรับคนต่างชาติที่จะเดินทางเข้าเมืองไทยค่ะ นอกจากนี้ กองตรวจลงตราฯ ก็มีหน้าที่เกี่ยวกับการอนุญาตให้คนต่างชาติที่เป็นนักการทูตหรือเจ้าหน้าที่องค์การระหว่างประเทศที่พำนักอยู่ในเมืองไทย เดินทางกลับเข้าเมืองไทยได้อีก(Re-entry)

หากคนต่างชาติทั่วไปที่อยู่ในเมืองไทย ต้องการติดต่อเรื่อง visa ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเปลี่ยนประเภท visa หรือการขอขยายเวลาการพำนักในเมืองไทย ต้องติดต่อที่สำนักงาน ต.ม. ศูนย์ราชการฯ ถนนแจ้งวัฒนะค่ะ  โทรศัพท์ไปสอบถามก่อนได้ที่หมายเลข 0-2141-9889  0-2141-9900 ถึง 10


อนึ่ง กองตรวจลงตราฯ ก็สามารถให้คำแนะนำเบื้องต้นเกี่ยวกับการขอ visa ไปต่างประเทศของคนไทยได้ค่ะ แต่ข้อมูลในรายละเอียดจะต้องไปสอบถามจากสถานทูตของประเทศนั้นๆ ในเมืองไทย
เพราะเป็นอำนาจของแต่ละประเทศในการออก visa ให้คนต่างชาติเข้าประเทศของเขา

Q

ตรวจลงตราและเอกสารเดินทางคนต่างด้าว : ถ้าอย่างนั้น คนต่างชาติที่จะเข้ามาในเมืองไทย ก็ต้องขอ visa ก่อนใช่ไหมครับ

ตรวจลงตราและเอกสารเดินทางคนต่างด้าว : ถ้าอย่างนั้น คนต่างชาติที่จะเข้ามาในเมืองไทย ก็ต้องขอ visa ก่อนใช่ไหมครับ

A

ใช่แล้วค่ะ  คนต่างชาติที่จะเข้ามาในเมืองไทยก็ต้องขอ visa ที่สถานทูตหรือสถานกงสุลของไทยที่ตั้งอยู่ในประเทศนั้นๆ ก่อน  แต่ก็มีหลายประเทศค่ะที่สามารถเข้าเมืองไทยได้โดยไม่ต้องขอ visa หรือขอ visa ที่สนามบินก็ได้  สามารถตรวจสอบรายชื่อประเทศดังกล่าวได้จาก www.consular.go.th หรือwww.mfa.go.th นะคะ

สถานทูตหรือสถานกงสุลของไทยมีอำนาจหน้าที่ในการออก visa ให้คนต่างชาติ เพื่ออนุญาตให้เดินทางมาประเทศไทยได้  อย่างไรก็ดี การอนุญาตให้เข้าประเทศไทย รวมทั้งกำหนดระยะเวลาที่อนุญาตให้อยู่ในประเทศไทย เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักตรวจคนเข้าเมืองค่ะ  คนต่างชาติบางคนที่ได้รับ visa แล้ว ก็อาจไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าเมือง หากเจ้าหน้าที่สำนักงาน ตม. พิจารณาแล้วเห็นว่า คนต่างชาตินั้นๆ มีลักษณะหรือพฤติการณ์ที่เข้าข่ายเป็นบุคคลต้องห้ามเดินทางเข้าราชอาณาจักร ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ค่ะ

ใช่แล้วค่ะ  คนต่างชาติที่จะเข้ามาในเมืองไทยก็ต้องขอ visa ที่สถานทูตหรือสถานกงสุลของไทยที่ตั้งอยู่ในประเทศนั้นๆ ก่อน  แต่ก็มีหลายประเทศค่ะที่สามารถเข้าเมืองไทยได้โดยไม่ต้องขอ visa หรือขอ visa ที่สนามบินก็ได้  สามารถตรวจสอบรายชื่อประเทศดังกล่าวได้จาก www.consular.go.th หรือwww.mfa.go.th นะคะ

สถานทูตหรือสถานกงสุลของไทยมีอำนาจหน้าที่ในการออก visa ให้คนต่างชาติ เพื่ออนุญาตให้เดินทางมาประเทศไทยได้  อย่างไรก็ดี การอนุญาตให้เข้าประเทศไทย รวมทั้งกำหนดระยะเวลาที่อนุญาตให้อยู่ในประเทศไทย เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักตรวจคนเข้าเมืองค่ะ  คนต่างชาติบางคนที่ได้รับ visa แล้ว ก็อาจไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าเมือง หากเจ้าหน้าที่สำนักงาน ตม. พิจารณาแล้วเห็นว่า คนต่างชาตินั้นๆ มีลักษณะหรือพฤติการณ์ที่เข้าข่ายเป็นบุคคลต้องห้ามเดินทางเข้าราชอาณาจักร ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ค่ะ

Q

ตรวจลงตราและเอกสารเดินทางคนต่างด้าว : เพื่อนผมเป็นคนนิวซีแลนด์มีธุรกิจส่วนตัวอยู่ที่นิวซีแลนด์ ชอบเมืองไทยมากเลยเดินทางเข้ามาเที่ยวบ่อย เพราะไม่ต้องใช้ visa ด้วย บางครั้งใน 1 ปี เดินทางเข้า-ออกเมืองไทยบ่อยครั้งมากจนนับได้ว่าอยู่ในเมืองไทยมากกว่าอยู่ในนิวซีแลนด์เสียอีก แต่ตอนนี้ ทราบว่า ต.ม. มีระเบียบใหม่เกี่ยวกับระยะเวลาที่อนุญาตให้คนต่างชาติพำนักอยู่หากเข้ามาโดยไม่มี visa ใช่ไหมครับ?

ตรวจลงตราและเอกสารเดินทางคนต่างด้าว : เพื่อนผมเป็นคนนิวซีแลนด์มีธุรกิจส่วนตัวอยู่ที่นิวซีแลนด์ ชอบเมืองไทยมากเลยเดินทางเข้ามาเที่ยวบ่อย เพราะไม่ต้องใช้ visa ด้วย บางครั้งใน 1 ปี เดินทางเข้า-ออกเมืองไทยบ่อยครั้งมากจนนับได้ว่าอยู่ในเมืองไทยมากกว่าอยู่ในนิวซีแลนด์เสียอีก แต่ตอนนี้ ทราบว่า ต.ม. มีระเบียบใหม่เกี่ยวกับระยะเวลาที่อนุญาตให้คนต่างชาติพำนักอยู่หากเข้ามาโดยไม่มี visa ใช่ไหมครับ?

A

ถูกต้องค่ะ เพื่อไม่ให้คนต่างชาติจำนวนหนึ่งอาศัยช่องทางในการได้รับการยกเว้น visa เดินทาง เข้าออกหลายครั้งเพื่อลักลอบทำงานในเมืองไทยอย่างผิดกฎหมาย  สำนักงาน ต.ม. จึงออกมาตรการป้องกันไว้  ปัจจุบัน คนต่างชาติ 48 ประเทศ รวมถึงนิวซีแลนด์ สามารถเดินทางเข้าประเทศไทยเพื่อการท่องเที่ยวโดยได้รับการยกเว้น visa (เรียกว่า ผ. 30) ซึ่งเจ้าหน้าที่ ต.ม. จะอนุญาตให้อยู่ได้ครั้งละไม่เกิน 30 วัน แต่หากเดินทางเข้าทางด่านชายแดนทางบก จะอนุญาตให้อยู่ครั้งละไม่เกิน 15 วัน  รายชื่อประเทศทั้ง 48 ประเทศนี้ ตรวจดูได้ใน www.consular.go.th ค่ะ

ในกรณีอย่างเพื่อนของคุณนี้ ถ้าประสงค์จะท่องเที่ยวระยะยาวจริงๆ  ขอแนะนำให้ขอ visa นักท่องเที่ยว

จากสถานทูตไทยที่กรุงเวลลิงตัน หรือสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ที่เมืองโอ๊คแลนด์ ก่อนที่จะเดินทางเข้าเมืองไทย เพราะจะได้รับอนุญาตให้อยู่ได้นานกว่าการเข้ามาโดยไม่มี visa  คือจะได้รับอนุญาตให้อยู่ได้ 60 วัน ค่ะ   

ถูกต้องค่ะ เพื่อไม่ให้คนต่างชาติจำนวนหนึ่งอาศัยช่องทางในการได้รับการยกเว้น visa เดินทาง เข้าออกหลายครั้งเพื่อลักลอบทำงานในเมืองไทยอย่างผิดกฎหมาย  สำนักงาน ต.ม. จึงออกมาตรการป้องกันไว้  ปัจจุบัน คนต่างชาติ 48 ประเทศ รวมถึงนิวซีแลนด์ สามารถเดินทางเข้าประเทศไทยเพื่อการท่องเที่ยวโดยได้รับการยกเว้น visa (เรียกว่า ผ. 30) ซึ่งเจ้าหน้าที่ ต.ม. จะอนุญาตให้อยู่ได้ครั้งละไม่เกิน 30 วัน แต่หากเดินทางเข้าทางด่านชายแดนทางบก จะอนุญาตให้อยู่ครั้งละไม่เกิน 15 วัน  รายชื่อประเทศทั้ง 48 ประเทศนี้ ตรวจดูได้ใน www.consular.go.th ค่ะ

ในกรณีอย่างเพื่อนของคุณนี้ ถ้าประสงค์จะท่องเที่ยวระยะยาวจริงๆ  ขอแนะนำให้ขอ visa นักท่องเที่ยว

จากสถานทูตไทยที่กรุงเวลลิงตัน หรือสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ที่เมืองโอ๊คแลนด์ ก่อนที่จะเดินทางเข้าเมืองไทย เพราะจะได้รับอนุญาตให้อยู่ได้นานกว่าการเข้ามาโดยไม่มี visa  คือจะได้รับอนุญาตให้อยู่ได้ 60 วัน ค่ะ   

Q

ตรวจลงตราและเอกสารเดินทางคนต่างด้าว : ขอความกระจ่างอีกนิดหนึ่งครับ แปลว่า ถ้าคนต่างชาติเข้ามาอยู่ในเมืองไทยแล้วสถานะเปลี่ยนไป เช่น แต่งงานกับคนไทย หรือเปลี่ยนจากนักท่องเที่ยวเป็นอย่างอื่น

ตรวจลงตราและเอกสารเดินทางคนต่างด้าว : ขอความกระจ่างอีกนิดหนึ่งครับ แปลว่า ถ้าคนต่างชาติเข้ามาอยู่ในเมืองไทยแล้วสถานะเปลี่ยนไป เช่น แต่งงานกับคนไทย หรือเปลี่ยนจากนักท่องเที่ยวเป็นอย่างอื่น

A

ถูกต้องค่ะ  ต.ม. จะพิจารณาตามเอกสารและความจำเป็น  ในบางกรณี อาจได้รับคำแนะนำให้กลับไปประเทศของตนเพื่อขอ visa ที่ถูกต้องเข้ามา จะได้ไม่ประสบปัญหาในอนาคตค่ะ

ถูกต้องค่ะ  ต.ม. จะพิจารณาตามเอกสารและความจำเป็น  ในบางกรณี อาจได้รับคำแนะนำให้กลับไปประเทศของตนเพื่อขอ visa ที่ถูกต้องเข้ามา จะได้ไม่ประสบปัญหาในอนาคตค่ะ

Q

ตรวจลงตราและเอกสารเดินทางคนต่างด้าว : อาจารย์ของผมเป็นคนญี่ปุ่น เข้ามาเที่ยวเมืองไทยโดยได้รับการยกเว้น visa ได้รับอนุญาตจาก ต.ม. ให้อยู่ได้ 30 วัน สัปดาห์หน้าก็จะครบกำหนดแล้ว แต่บังเอิญว่าท่านประสบอุบัติเหตุเล็กน้อย ต้องพักรักษาตัวอีกระยะหนึ่งก่อนจะเดินทางกลับญี่ปุ่นได้ ทำอย่างไรดีครับ

ตรวจลงตราและเอกสารเดินทางคนต่างด้าว : อาจารย์ของผมเป็นคนญี่ปุ่น เข้ามาเที่ยวเมืองไทยโดยได้รับการยกเว้น visa ได้รับอนุญาตจาก ต.ม. ให้อยู่ได้ 30 วัน สัปดาห์หน้าก็จะครบกำหนดแล้ว แต่บังเอิญว่าท่านประสบอุบัติเหตุเล็กน้อย ต้องพักรักษาตัวอีกระยะหนึ่งก่อนจะเดินทางกลับญี่ปุ่นได้ ทำอย่างไรดีครับ

A

ขอแนะนำให้อาจารย์ของคุณขอใบรับรองแพทย์ไปแสดงกับสำนักงาน ต.ม. ที่ไหนก็ได้ค่ะ แต่ต้องดำเนินการก่อนที่จะครบ 30 วันนะคะ  สำนักงาน ต.ม. จะพิจารณาอนุญาตให้อยู่ต่อได้ ตามความจำเป็นค่ะ 

การที่คนต่างชาติอยู่เกินกำหนด โดยที่ไม่ขออนุญาตก่อน  เมื่อเดินทางออกจากเมืองไทยจะถูกปรับตามจำนวนวันที่อยู่เกินกำหนดค่ะ (ค่าปรับวันละ 500 บาท หรือรวมทั้งสิ้นไม่เกิน 20,000 บาท)

ขอแนะนำให้อาจารย์ของคุณขอใบรับรองแพทย์ไปแสดงกับสำนักงาน ต.ม. ที่ไหนก็ได้ค่ะ แต่ต้องดำเนินการก่อนที่จะครบ 30 วันนะคะ  สำนักงาน ต.ม. จะพิจารณาอนุญาตให้อยู่ต่อได้ ตามความจำเป็นค่ะ 

การที่คนต่างชาติอยู่เกินกำหนด โดยที่ไม่ขออนุญาตก่อน  เมื่อเดินทางออกจากเมืองไทยจะถูกปรับตามจำนวนวันที่อยู่เกินกำหนดค่ะ (ค่าปรับวันละ 500 บาท หรือรวมทั้งสิ้นไม่เกิน 20,000 บาท)

Q

ตรวจลงตราและเอกสารเดินทางคนต่างด้าว : ผมทำธุรกิจส่งออก กำลังขยายกิจการ อยากจะจ้างคนจีนไว้ช่วยทำตลาดจีนควรทำอย่างไรบ้างครับ

ตรวจลงตราและเอกสารเดินทางคนต่างด้าว : ผมทำธุรกิจส่งออก กำลังขยายกิจการ อยากจะจ้างคนจีนไว้ช่วยทำตลาดจีนควรทำอย่างไรบ้างครับ

A

ขอแนะนำให้ปรึกษากรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานก่อนค่ะ เพราะมีกฎหมายและระเบียบต่างๆ กำหนดไว้สำหรับการจ้างคนต่างชาติ (www.doe.go.th


สิ่งที่จำเป็นสำหรับนายจ้างก็คือการยื่นขอใบอนุญาตทำงาน (work permit หรือ ต.ท. 2) 
ให้คนต่างชาตินั้นๆ  ขอแนะนำให้คุณยื่นขอใบอนุญาตทำงานล่วงหน้า (แบบฟอร์ม ต.ท. 3) 
หากกรมการจัดหางานพิจารณาแล้วเห็นควรอนุมัติ ก็จะออกหนังสือรับรองให้ ซึ่งคุณก็สามารถ
ส่งเอกสารที่ว่านี้และเอกสารประกอบคำร้องต่างๆ ที่คุณสามารถตรวจสอบได้จาก www.mfa.go.th หรือ www.consular.go.th ให้คนต่างชาตินั้นไปยื่นขอ Non-Immigrant visa ที่สถานทูตหรือสถานกงสุลของไทย ก่อนเดินทางเข้าประเทศไทยค่ะ

ขอแนะนำให้ปรึกษากรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานก่อนค่ะ เพราะมีกฎหมายและระเบียบต่างๆ กำหนดไว้สำหรับการจ้างคนต่างชาติ (www.doe.go.th


สิ่งที่จำเป็นสำหรับนายจ้างก็คือการยื่นขอใบอนุญาตทำงาน (work permit หรือ ต.ท. 2) 
ให้คนต่างชาตินั้นๆ  ขอแนะนำให้คุณยื่นขอใบอนุญาตทำงานล่วงหน้า (แบบฟอร์ม ต.ท. 3) 
หากกรมการจัดหางานพิจารณาแล้วเห็นควรอนุมัติ ก็จะออกหนังสือรับรองให้ ซึ่งคุณก็สามารถ
ส่งเอกสารที่ว่านี้และเอกสารประกอบคำร้องต่างๆ ที่คุณสามารถตรวจสอบได้จาก www.mfa.go.th หรือ www.consular.go.th ให้คนต่างชาตินั้นไปยื่นขอ Non-Immigrant visa ที่สถานทูตหรือสถานกงสุลของไทย ก่อนเดินทางเข้าประเทศไทยค่ะ

Q

ตรวจลงตราและเอกสารเดินทางคนต่างด้าว : เพื่อนผมเป็นคนอินเดีย มาเที่ยวเมืองไทยแล้วติดใจครับ อยากจะอยู่ทำงานที่นี่ มีคำแนะนำไหมครับ

ตรวจลงตราและเอกสารเดินทางคนต่างด้าว : เพื่อนผมเป็นคนอินเดีย มาเที่ยวเมืองไทยแล้วติดใจครับ อยากจะอยู่ทำงานที่นี่ มีคำแนะนำไหมครับ

A

ถ้าอยากจะทำงานในเมืองไทย ก็ต้องมีนายจ้างก่อนนะคะ  หน่วยงานที่อนุญาตให้คนต่างชาติทำงานในเมืองไทยได้ก็คือกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน  ส่วนเรื่องการอนุญาตให้พำนักอยู่ในเมืองไทยเป็นอำนาจตามกฎหมายของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง

ในกรณีนี้ หากเพื่อนของคุณมีนายจ้างแล้ว ก็ควรจะกลับไปขอ visa ทำงาน (เรียกชื่อทางการว่าNon-immigrant “B” visa) จากสถานทูตหรือสถานกงสุลของไทยในอินเดีย โดยมีเอกสารรับรอง

ต่างๆ จากนายจ้างไปแสดง หรือหากให้นายจ้างยื่นขอใบอนุญาตทำงานให้ล่วงหน้า (แบบฟอร์ม ต.ท. 3) ก็จะยิ่งทำให้ขอ visa ได้ง่ายมากขึ้นค่ะ  และเมื่อเข้ามาแล้ว ก็ไปขอรับใบอนุญาตทำงาน จากนั้น ไปยื่นคำร้องขออนุญาตอยู่ต่อกับสำนักงาน ต.ม. ก่อนที่จะครบกำหนด 90 วันค่ะ 
         

ถ้าเพื่อนของคุณอยู่ต่อในเมืองไทยและทำงานโดยไม่มี visa ที่ถูกต้อง และไม่มีใบอนุญาตทำงาน  ถือเป็นการผิดกฎหมายนะคะ อาจถูกปรับและเนรเทศกลับประเทศได้

ถ้าอยากจะทำงานในเมืองไทย ก็ต้องมีนายจ้างก่อนนะคะ  หน่วยงานที่อนุญาตให้คนต่างชาติทำงานในเมืองไทยได้ก็คือกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน  ส่วนเรื่องการอนุญาตให้พำนักอยู่ในเมืองไทยเป็นอำนาจตามกฎหมายของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง

ในกรณีนี้ หากเพื่อนของคุณมีนายจ้างแล้ว ก็ควรจะกลับไปขอ visa ทำงาน (เรียกชื่อทางการว่าNon-immigrant “B” visa) จากสถานทูตหรือสถานกงสุลของไทยในอินเดีย โดยมีเอกสารรับรอง

ต่างๆ จากนายจ้างไปแสดง หรือหากให้นายจ้างยื่นขอใบอนุญาตทำงานให้ล่วงหน้า (แบบฟอร์ม ต.ท. 3) ก็จะยิ่งทำให้ขอ visa ได้ง่ายมากขึ้นค่ะ  และเมื่อเข้ามาแล้ว ก็ไปขอรับใบอนุญาตทำงาน จากนั้น ไปยื่นคำร้องขออนุญาตอยู่ต่อกับสำนักงาน ต.ม. ก่อนที่จะครบกำหนด 90 วันค่ะ 
         

ถ้าเพื่อนของคุณอยู่ต่อในเมืองไทยและทำงานโดยไม่มี visa ที่ถูกต้อง และไม่มีใบอนุญาตทำงาน  ถือเป็นการผิดกฎหมายนะคะ อาจถูกปรับและเนรเทศกลับประเทศได้

Q

ตรวจลงตราและเอกสารเดินทางคนต่างด้าว : ผมมีแฟนเป็นคนฮ่องกง ตอนนี้อยู่ที่ฮ่องกง อยากจะแต่งงานและพาเธอมาอยู่ด้วยกันที่เมืองไทย ต้องทำอะไรบ้างครับ

ตรวจลงตราและเอกสารเดินทางคนต่างด้าว : ผมมีแฟนเป็นคนฮ่องกง ตอนนี้อยู่ที่ฮ่องกง อยากจะแต่งงานและพาเธอมาอยู่ด้วยกันที่เมืองไทย ต้องทำอะไรบ้างครับ

A

ก่อนอื่น ต้องจดทะเบียนสมรสให้ถูกต้องตามกฎหมายก่อนค่ะ  สามารถเลือกจดทะเบียนตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายฮ่องกงก็ได้  หลังจากนั้น ก็นำหลักฐานการจดทะเบียนสมรส
ไปยื่นขอ visa คู่สมรสได้ที่สถานกงสุลใหญ่ของไทยในฮ่องกง (เรียกว่า Non-immigrant “O”)เมื่อได้ visa แล้ว ก็สามารถอยู่ในเมืองไทยระยะยาวได้ แต่ต้องอย่าลืมไปขอต่ออายุการพำนัก
ในเมืองไทยกับสำนักงาน ต.ม. แห่งไหนก็ได้เป็นประจำนะคะ

เรื่องการจดทะเบียนสมรสระหว่างคนไทยกับคนต่างชาติ สามารถขอคำแนะนำจากกองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล ได้ด้วยค่ะ

ก่อนอื่น ต้องจดทะเบียนสมรสให้ถูกต้องตามกฎหมายก่อนค่ะ  สามารถเลือกจดทะเบียนตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายฮ่องกงก็ได้  หลังจากนั้น ก็นำหลักฐานการจดทะเบียนสมรส
ไปยื่นขอ visa คู่สมรสได้ที่สถานกงสุลใหญ่ของไทยในฮ่องกง (เรียกว่า Non-immigrant “O”)เมื่อได้ visa แล้ว ก็สามารถอยู่ในเมืองไทยระยะยาวได้ แต่ต้องอย่าลืมไปขอต่ออายุการพำนัก
ในเมืองไทยกับสำนักงาน ต.ม. แห่งไหนก็ได้เป็นประจำนะคะ

เรื่องการจดทะเบียนสมรสระหว่างคนไทยกับคนต่างชาติ สามารถขอคำแนะนำจากกองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล ได้ด้วยค่ะ

Q

ตรวจลงตราและเอกสารเดินทางคนต่างด้าว : ดิฉันแต่งงานกับคนเยอรมนี จดทะเบียนสมรสตามกฎหมายเยอรมนีแล้ว ตอนนี้เราอยู่ด้วยกันที่แฟรงก์เฟิร์ต ดิฉันเคยพาเขามาเที่ยวเมืองไทยหลายครั้งแล้ว โดยไม่ได้ใช้ visa แต่ก็อยู่ได้ไม่นาน อยากจะพาเขามาอยู่ระยะยาว ต้องทำอย่างไรบ้างคะ

ตรวจลงตราและเอกสารเดินทางคนต่างด้าว : ดิฉันแต่งงานกับคนเยอรมนี จดทะเบียนสมรสตามกฎหมายเยอรมนีแล้ว ตอนนี้เราอยู่ด้วยกันที่แฟรงก์เฟิร์ต ดิฉันเคยพาเขามาเที่ยวเมืองไทยหลายครั้งแล้ว โดยไม่ได้ใช้ visa แต่ก็อยู่ได้ไม่นาน อยากจะพาเขามาอยู่ระยะยาว ต้องทำอย่างไรบ้างคะ

A

สามีของคุณสามารถยื่นขอ Non-Immigrant “O” Visa ในฐานะคู่สมรสของคนไทยได้ที่สถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ตค่ะ  ในการขอ visa นั้น ก็ต้องนำทะเบียนสมรส 
และหลักฐานไทยของคุณไปแสดงด้วย  เมื่อสามีของคุณได้รับ visa แล้ว ก็สามารถเดินทางเข้าเมืองไทย และจะได้รับอนุญาตให้อยู่ในครั้งแรกไม่เกิน 90 วัน  หลังจากนั้น ก็สามารถขอ
อยู่ต่อที่สำนักงาน ต.ม. แห่งไหนก็ได้ โดยจะได้รับอนุญาตครั้งละไม่เกิน 1 ปีค่ะ

สามีของคุณสามารถยื่นขอ Non-Immigrant “O” Visa ในฐานะคู่สมรสของคนไทยได้ที่สถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ตค่ะ  ในการขอ visa นั้น ก็ต้องนำทะเบียนสมรส 
และหลักฐานไทยของคุณไปแสดงด้วย  เมื่อสามีของคุณได้รับ visa แล้ว ก็สามารถเดินทางเข้าเมืองไทย และจะได้รับอนุญาตให้อยู่ในครั้งแรกไม่เกิน 90 วัน  หลังจากนั้น ก็สามารถขอ
อยู่ต่อที่สำนักงาน ต.ม. แห่งไหนก็ได้ โดยจะได้รับอนุญาตครั้งละไม่เกิน 1 ปีค่ะ

Q

ตรวจลงตราและเอกสารเดินทางคนต่างด้าว : เอกสารเดินทางคนต่างด้าวคืออะไรครับ ต่างจากหนังสือเดินทางอย่างไรครับ

ตรวจลงตราและเอกสารเดินทางคนต่างด้าว : เอกสารเดินทางคนต่างด้าวคืออะไรครับ ต่างจากหนังสือเดินทางอย่างไรครับ

A

หนังสือเดินทางเป็นเอกสารการเดินทางสำหรับผู้ที่มีสัญชาติไทยค่ะ  ส่วนคนต่างด้าวที่พำนักอยู่ในเมืองไทย มีใบสำคัญถิ่นที่อยู่ที่ออกให้โดย ต.ม. แต่ไม่สามารถขอหนังสือเดินทาง
จากประเทศที่ตนเคยมีสัญชาติเดิม  สามารถขอเอกสารเดินทางคนต่างด้าว (TD) ซึ่งมีอายุการใช้งาน 1 ปี และสามารถต่ออายุ ได้ที่กองตรวจลงตราฯ เพื่อใช้เดินทางไปต่างประเทศชั่วคราวได้ค่ะ

นอกจากคนต่างด้าวที่มีใบถิ่นที่อยู่แล้ว  บุคคลไร้สัญชาติที่พำนักอยู่ในประเทศไทยและคนต่างด้าวทีได้รับถิ่นที่อยู่ถาวรภายใต้โครงการลงทุนเป็นกรณีพิเศษ 10 ล้านบาท ก็มีสิทธิยื่นขอ TD ได้เช่นกันค่ะ    

เอกสารประกอบต่างๆ ในการขอ TD ปรากฎใน www.consular.go.th หรือ www.mfa.go.th ค่ะ

หนังสือเดินทางเป็นเอกสารการเดินทางสำหรับผู้ที่มีสัญชาติไทยค่ะ  ส่วนคนต่างด้าวที่พำนักอยู่ในเมืองไทย มีใบสำคัญถิ่นที่อยู่ที่ออกให้โดย ต.ม. แต่ไม่สามารถขอหนังสือเดินทาง
จากประเทศที่ตนเคยมีสัญชาติเดิม  สามารถขอเอกสารเดินทางคนต่างด้าว (TD) ซึ่งมีอายุการใช้งาน 1 ปี และสามารถต่ออายุ ได้ที่กองตรวจลงตราฯ เพื่อใช้เดินทางไปต่างประเทศชั่วคราวได้ค่ะ

นอกจากคนต่างด้าวที่มีใบถิ่นที่อยู่แล้ว  บุคคลไร้สัญชาติที่พำนักอยู่ในประเทศไทยและคนต่างด้าวทีได้รับถิ่นที่อยู่ถาวรภายใต้โครงการลงทุนเป็นกรณีพิเศษ 10 ล้านบาท ก็มีสิทธิยื่นขอ TD ได้เช่นกันค่ะ    

เอกสารประกอบต่างๆ ในการขอ TD ปรากฎใน www.consular.go.th หรือ www.mfa.go.th ค่ะ

Q

ตรวจลงตราและเอกสารเดินทางคนต่างด้าว : พอได้รับ TD แล้วต้องทำอะไรบ้างครับ

ตรวจลงตราและเอกสารเดินทางคนต่างด้าว : พอได้รับ TD แล้วต้องทำอะไรบ้างครับ

A

อย่างแรกที่ต้องทำคือไปยื่นคำร้องขอ Re-entry Permit จากสำนักงาน ต.ม. ค่ะ สำนักงาน ต.ม. จะออก Re-entry Permit ให้โดยมีอายุเท่ากับ TD  จากนั้น ก็นำ TD ไป visa
เข้าประเทศที่คุณจะเดินทางไปจากสถานทูตของประเทศนั้นๆ ค่ะ

อย่างแรกที่ต้องทำคือไปยื่นคำร้องขอ Re-entry Permit จากสำนักงาน ต.ม. ค่ะ สำนักงาน ต.ม. จะออก Re-entry Permit ให้โดยมีอายุเท่ากับ TD  จากนั้น ก็นำ TD ไป visa
เข้าประเทศที่คุณจะเดินทางไปจากสถานทูตของประเทศนั้นๆ ค่ะ

Q

ตรวจลงตราและเอกสารเดินทางคนต่างด้าว : คุณแม่ของผมเป็นคนต่างด้าว แต่ตอนนี้มีหนังสือเดินทางจีนอยู่ด้วย จะขอ TD ได้ไหมครับ

ตรวจลงตราและเอกสารเดินทางคนต่างด้าว : คุณแม่ของผมเป็นคนต่างด้าว แต่ตอนนี้มีหนังสือเดินทางจีนอยู่ด้วย จะขอ TD ได้ไหมครับ

A

กรมการกงสุลไม่สามารถออก TD ให้กับบุคคลที่มีหนังสือเดินทางของประเทศอื่นค่ะ ในกรณีเช่นนี้ คุณแม่ของคุณสามารถใช้หนังสือเดินทางจีนเดินทางออกจากเมืองไทยได้ค่ะ
แต่ควรปรึกษากับ ต.ม. ก่อนล่วงหน้าให้แน่ใจว่าต้องดำเนินการอะไรหรือไม่ถึงจะสามารถเดินทางกลับเข้ามาเมืองไทยได้อย่างไม่มีปัญหา 

กรมการกงสุลไม่สามารถออก TD ให้กับบุคคลที่มีหนังสือเดินทางของประเทศอื่นค่ะ ในกรณีเช่นนี้ คุณแม่ของคุณสามารถใช้หนังสือเดินทางจีนเดินทางออกจากเมืองไทยได้ค่ะ
แต่ควรปรึกษากับ ต.ม. ก่อนล่วงหน้าให้แน่ใจว่าต้องดำเนินการอะไรหรือไม่ถึงจะสามารถเดินทางกลับเข้ามาเมืองไทยได้อย่างไม่มีปัญหา 

Q

ตรวจลงตราและเอกสารเดินทางคนต่างด้าว : คุณพ่อผมเป็นคนต่างด้าว อยากให้ท่านได้รับสัญชาติไทย จะได้เปลี่ยนจากถือ TD เป็นหนังสือเดินทางไทย ต้องทำอย่างไรบ้างครับ

ตรวจลงตราและเอกสารเดินทางคนต่างด้าว : คุณพ่อผมเป็นคนต่างด้าว อยากให้ท่านได้รับสัญชาติไทย จะได้เปลี่ยนจากถือ TD เป็นหนังสือเดินทางไทย ต้องทำอย่างไรบ้างครับ

A

การได้สัญชาติไทยอยู่ในอำนาจการพิจารณาของกระทรวงมหาดไทยค่ะ  คนต่างด้าวที่มีถิ่นที่อยู่ในเมืองไทยและประสงค์จะได้สัญชาติไทย ต้องไปยื่นคำร้องขอที่กองตำรวจสันติบาล      
สามารถขอคำแนะนำในเบื้องต้นได้ที่กองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุลค่ะ

การได้สัญชาติไทยอยู่ในอำนาจการพิจารณาของกระทรวงมหาดไทยค่ะ  คนต่างด้าวที่มีถิ่นที่อยู่ในเมืองไทยและประสงค์จะได้สัญชาติไทย ต้องไปยื่นคำร้องขอที่กองตำรวจสันติบาล      
สามารถขอคำแนะนำในเบื้องต้นได้ที่กองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุลค่ะ

Q

ตรวจลงตราและเอกสารเดินทางคนต่างด้าว : สามารถขอต่ออายุ TD ในต่างประเทศได้ไหมครับ คุณลุงของผมเป็นคนต่างด้าวใช้ TD เดินทางไปเยี่ยมญาติที่เกาหลีใต้ แล้วไปล้มป่วยอยู่ที่นั่น เกรงว่า TD จะหมดอายุ

ตรวจลงตราและเอกสารเดินทางคนต่างด้าว : สามารถขอต่ออายุ TD ในต่างประเทศได้ไหมครับ คุณลุงของผมเป็นคนต่างด้าวใช้ TD เดินทางไปเยี่ยมญาติที่เกาหลีใต้ แล้วไปล้มป่วยอยู่ที่นั่น เกรงว่า TD จะหมดอายุ

A

ในหลักการแล้ว สถานทูตสถานกงสุลใหญ่ไม่สามารถต่ออายุ TD ให้ได้ค่ะ  หากผู้ที่ถือ TD ไม่เดินทางกลับประเทศไทยระหว่างที่ TD และ Re-entry Permit ยังมีอายุอยู่  
สถานะของคนต่างด้าวที่ได้รับใบถิ่นที่อยู่ก็จะได้รับผลกระทบไปด้วยนะคะ

หากเป็นกรณีที่สุดวิสัยจริงๆ เช่น เจ็บป่วยในต่างประเทศ  ขอให้ติดต่อสถานทูต/สถานกงสุลใหญ่ของไทยที่อยู่ใกล้ที่สุด พร้อมแสดงหลักฐานประจำตัวต่างๆ รวมถึงใบรับรองแพทย์ค่ะ 
และสถานทูต/สถานกงสุลใหญ่จะหารือกับกองตรวจลงตราฯ กรมการกงสุล เพื่อช่วยหาทางออกให้ต่อไปค่ะ

ในหลักการแล้ว สถานทูตสถานกงสุลใหญ่ไม่สามารถต่ออายุ TD ให้ได้ค่ะ  หากผู้ที่ถือ TD ไม่เดินทางกลับประเทศไทยระหว่างที่ TD และ Re-entry Permit ยังมีอายุอยู่  
สถานะของคนต่างด้าวที่ได้รับใบถิ่นที่อยู่ก็จะได้รับผลกระทบไปด้วยนะคะ

หากเป็นกรณีที่สุดวิสัยจริงๆ เช่น เจ็บป่วยในต่างประเทศ  ขอให้ติดต่อสถานทูต/สถานกงสุลใหญ่ของไทยที่อยู่ใกล้ที่สุด พร้อมแสดงหลักฐานประจำตัวต่างๆ รวมถึงใบรับรองแพทย์ค่ะ 
และสถานทูต/สถานกงสุลใหญ่จะหารือกับกองตรวจลงตราฯ กรมการกงสุล เพื่อช่วยหาทางออกให้ต่อไปค่ะ

Q

ตรวจลงตราและเอกสารเดินทางคนต่างด้าว : นอกจากหนังสือเดินทางและเอกสารเดินทางคนต่างด้าวแล้ว ผมเคยได้ยินว่ามีเอกสารที่เรียกว่า Emergency Certificate ด้วย คืออะไรครับ

ตรวจลงตราและเอกสารเดินทางคนต่างด้าว : นอกจากหนังสือเดินทางและเอกสารเดินทางคนต่างด้าวแล้ว ผมเคยได้ยินว่ามีเอกสารที่เรียกว่า Emergency Certificate ด้วย คืออะไรครับ

A

Emergency Certificate หรือ EC คือเอกสารการเดินทางที่กองตรวจลงตราฯ กรมการกงสุลออกให้กับคนต่างชาติในการเดินทางออกจากเมืองไทยแบบฉุกเฉินค่ะ  กลุ่มคนต่างชาติที่มีสิทธิขอ EC เป็นคนกลุ่มพิเศษที่ไม่สามารถยื่นขอหนังสือเดินทางของประเทศใดๆ ในเมืองไทยได้เช่น
 
(1) คนต่างชาติที่ทำหนังสือเดินทางหาย และไม่มีสถานทูตของตนตั้งอยู่ในเมืองไทย
(2) บุตรของคนต่างชาติที่เกิดในเมืองไทย แต่ไม่ได้รับสัญชาติไทย และไม่มีสถานทูตของตนตั้งอยู่ในเมืองไทย 
(3) เด็กที่ไม่มีสัญชาติไทยที่อยู่ในความดูแลของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ 
(4) คนต่างชาติที่ลี้ภัยทางการเมืองมาอยู่ในเมืองไทย

Emergency Certificate หรือ EC คือเอกสารการเดินทางที่กองตรวจลงตราฯ กรมการกงสุลออกให้กับคนต่างชาติในการเดินทางออกจากเมืองไทยแบบฉุกเฉินค่ะ  กลุ่มคนต่างชาติที่มีสิทธิขอ EC เป็นคนกลุ่มพิเศษที่ไม่สามารถยื่นขอหนังสือเดินทางของประเทศใดๆ ในเมืองไทยได้เช่น
 
(1) คนต่างชาติที่ทำหนังสือเดินทางหาย และไม่มีสถานทูตของตนตั้งอยู่ในเมืองไทย
(2) บุตรของคนต่างชาติที่เกิดในเมืองไทย แต่ไม่ได้รับสัญชาติไทย และไม่มีสถานทูตของตนตั้งอยู่ในเมืองไทย 
(3) เด็กที่ไม่มีสัญชาติไทยที่อยู่ในความดูแลของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ 
(4) คนต่างชาติที่ลี้ภัยทางการเมืองมาอยู่ในเมืองไทย

Q

การทำบัตรประชาชนในต่างประเทศ : 6. ผู้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านกลางต้องดำเนินการอย่างไร ผู้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านกลางไม่สามารถขอทำบัตรประจำตัวประชาชนในต่างประเทศได้ จะต้องดำเนินการอย่างไร

การทำบัตรประชาชนในต่างประเทศ : 6. ผู้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านกลางต้องดำเนินการอย่างไร ผู้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านกลางไม่สามารถขอทำบัตรประจำตัวประชาชนในต่างประเทศได้ จะต้องดำเนินการอย่างไร

A

คนไทยที่เดินทางไปต่างประเทศเป็นเวลานาน โดยปกติแล้วจะต้องแจ้งย้ายชื่อออก
จากทะเบียนบ้าน (ท.ร.14) เข้าไปอยู่ในทะเบียนบ้านชั่วคราวสำหรับคนที่เดินทางไปต่างประเทศ

สำนักทะเบียนแต่ละแห่งจะกำหนดให้มีทะเบียนบ้านชั่วคราวสำหรับลงรายการของบุคคลที่
เดินทางไปต่างประเทศสำนักทะเบียนละ 1 แห่ง

[ตามระเบียบสำนักทะเบียนกลางว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร 2535 ข้อ 87]  

ซึ่งผู้ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านชั่วคราวดังกล่าว จะมีสิทธิขอทำบัตรประจำตัวประชาชนในต่างประเทศได้

 

อย่างไรก็ดี กระทรวงมหาดไทยได้อนุโลมให้ผู้ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน (ท.ร. 14)
ที่ยังไม่ได้โอนชื่อเข้าทะเบียนบ้านชั่วคราวสามารถต่ออายุบัตรฯ ในต่างประเทศได้ก่อน

แต่ขอให้ สอท./สกญ. แนบเอกสารที่เป็นข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปฏิบัติที่ถูกต้องตาม
พ.ร.บ. ทะเบียนราษฎรให้ผู้ร้องพิจารณาดำเนินการตามที่เห็นสมควรในภายหลัง เช่น
ผู้ยื่นขอทำบัตรอาจดำเนินการเองในการโอนชื่อเข้าทะเบียนบ้านชั่วคราว
หรือมอบอำนาจให้ญาติพี่น้องที่อยู่ในประเทศไทยยื่นคำร้องขอเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านชั่วคราว
สำหรับคนที่เดินทางไปต่างประเทศได้

[ตามระเบียบสำนักทะเบียนกลางว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร (ฉบับที่ 5) 2551 ข้อ 96/2]

กรณีหากยังไม่บรรลุนิติภาวะ ให้บิดา มารดา หรือผู้ปกครองโดยชอบด้วยกฎหมายเป็นผู้มอบอำนาจ
ขอโอนย้ายชื่อเข้าทะเบียนบ้านชั่วคราวแทน

"สำหรับผู้ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านกลาง จะไม่สามารถขอทำบัตรประจำตัวประชาชนในต่างประเทศได้
ขอให้ติดต่อสำนักทะเบียนที่เกี่ยวข้อง เพื่อแจ้งย้ายชื่อออกจากทะเบียนบ้านกลาง
ไปเข้าทะเบียนบ้านชั่วคราวสำหรับคนที่เดินทางไปต่างประเทศ โดยดำเนินการ
ด้วยตนเองหรือสามารถมอบอำนาจบุคคลอื่นดำเนินการแทน"

 

***************************************

คนไทยที่เดินทางไปต่างประเทศเป็นเวลานาน โดยปกติแล้วจะต้องแจ้งย้ายชื่อออก
จากทะเบียนบ้าน (ท.ร.14) เข้าไปอยู่ในทะเบียนบ้านชั่วคราวสำหรับคนที่เดินทางไปต่างประเทศ

สำนักทะเบียนแต่ละแห่งจะกำหนดให้มีทะเบียนบ้านชั่วคราวสำหรับลงรายการของบุคคลที่
เดินทางไปต่างประเทศสำนักทะเบียนละ 1 แห่ง

[ตามระเบียบสำนักทะเบียนกลางว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร 2535 ข้อ 87]  

ซึ่งผู้ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านชั่วคราวดังกล่าว จะมีสิทธิขอทำบัตรประจำตัวประชาชนในต่างประเทศได้

 

อย่างไรก็ดี กระทรวงมหาดไทยได้อนุโลมให้ผู้ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน (ท.ร. 14)
ที่ยังไม่ได้โอนชื่อเข้าทะเบียนบ้านชั่วคราวสามารถต่ออายุบัตรฯ ในต่างประเทศได้ก่อน

แต่ขอให้ สอท./สกญ. แนบเอกสารที่เป็นข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปฏิบัติที่ถูกต้องตาม
พ.ร.บ. ทะเบียนราษฎรให้ผู้ร้องพิจารณาดำเนินการตามที่เห็นสมควรในภายหลัง เช่น
ผู้ยื่นขอทำบัตรอาจดำเนินการเองในการโอนชื่อเข้าทะเบียนบ้านชั่วคราว
หรือมอบอำนาจให้ญาติพี่น้องที่อยู่ในประเทศไทยยื่นคำร้องขอเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านชั่วคราว
สำหรับคนที่เดินทางไปต่างประเทศได้

[ตามระเบียบสำนักทะเบียนกลางว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร (ฉบับที่ 5) 2551 ข้อ 96/2]

กรณีหากยังไม่บรรลุนิติภาวะ ให้บิดา มารดา หรือผู้ปกครองโดยชอบด้วยกฎหมายเป็นผู้มอบอำนาจ
ขอโอนย้ายชื่อเข้าทะเบียนบ้านชั่วคราวแทน

"สำหรับผู้ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านกลาง จะไม่สามารถขอทำบัตรประจำตัวประชาชนในต่างประเทศได้
ขอให้ติดต่อสำนักทะเบียนที่เกี่ยวข้อง เพื่อแจ้งย้ายชื่อออกจากทะเบียนบ้านกลาง
ไปเข้าทะเบียนบ้านชั่วคราวสำหรับคนที่เดินทางไปต่างประเทศ โดยดำเนินการ
ด้วยตนเองหรือสามารถมอบอำนาจบุคคลอื่นดำเนินการแทน"

 

***************************************

Q

การทำบัตรประชาชนในต่างประเทศ : 5. ขอทำบัตรประชาชนในต่างประเทศได้ในกรณีใดบ้าง ประชาชนสามารถรับบริการทำบัตรประจำตัวประชาชนในต่างประเทศได้ในกรณีใดบ้าง

การทำบัตรประชาชนในต่างประเทศ : 5. ขอทำบัตรประชาชนในต่างประเทศได้ในกรณีใดบ้าง ประชาชนสามารถรับบริการทำบัตรประจำตัวประชาชนในต่างประเทศได้ในกรณีใดบ้าง

A

ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 24 (พ.ศ. 2555) ออกตามความในพระราชบัญญัติ
บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 กำหนดให้ผู้มีถิ่นพำนักนอกราชอาณาจักร
ตามรายชื่อประเทศที่รัฐมนตรี (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย) ประกาศ
กำหนดสามารถยื่นคำขอได้เฉพาะ

            1. กรณีขอมีบัตรใหม่ ได้แก่
                - กรณีบัตรเดิมหมดอายุ
                - กรณีบัตรเดิมสูญหาย
                - กรณีบัตรเดิมถูกทำลาย

            2. กรณีขอเปลี่ยนบัตร ได้แก่
                - กรณีบัตรเดิมชำรุดในสาระสำคัญในส่วนของรูปถ่าย หรือ
                  รายการบุคคลเจ้าของบัตรหรือวัสดุเคลือบบัตรป้องกันการปลอมแปลง

                - กรณีผู้ถือบัตรเปลี่ยนชื่อตัวหรือเปลี่ยนชื่อสกุล หรือ
                   เปลี่ยนชื่อตัวและชื่อสกุล                


สำหรับกรณีที่ยังไม่เคยยื่นคำขอมีบัตร (ไม่เคยทำบัตร)

ไม่สามารถยื่นขอทำบัตรในต่างประเทศได้

หากประสงค์จะทำบัตรจะต้องมาดำเนินการยื่นคำขอในประเทศไทยเท่านั้น 

 

**************************

ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 24 (พ.ศ. 2555) ออกตามความในพระราชบัญญัติ
บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 กำหนดให้ผู้มีถิ่นพำนักนอกราชอาณาจักร
ตามรายชื่อประเทศที่รัฐมนตรี (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย) ประกาศ
กำหนดสามารถยื่นคำขอได้เฉพาะ

            1. กรณีขอมีบัตรใหม่ ได้แก่
                - กรณีบัตรเดิมหมดอายุ
                - กรณีบัตรเดิมสูญหาย
                - กรณีบัตรเดิมถูกทำลาย

            2. กรณีขอเปลี่ยนบัตร ได้แก่
                - กรณีบัตรเดิมชำรุดในสาระสำคัญในส่วนของรูปถ่าย หรือ
                  รายการบุคคลเจ้าของบัตรหรือวัสดุเคลือบบัตรป้องกันการปลอมแปลง

                - กรณีผู้ถือบัตรเปลี่ยนชื่อตัวหรือเปลี่ยนชื่อสกุล หรือ
                   เปลี่ยนชื่อตัวและชื่อสกุล                


สำหรับกรณีที่ยังไม่เคยยื่นคำขอมีบัตร (ไม่เคยทำบัตร)

ไม่สามารถยื่นขอทำบัตรในต่างประเทศได้

หากประสงค์จะทำบัตรจะต้องมาดำเนินการยื่นคำขอในประเทศไทยเท่านั้น 

 

**************************

Q

การทำบัตรประชาชนในต่างประเทศ : 4. กรณีไม่เคยทำบัตรประชาชนจะทำในต่างประเทศได้หรือไม่ คนไทยที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศเป็นเวลานานและไม่เคยทำบัตรประจำตัวประชาชนมาก่อน จะทำบัตรประจำตัวประชาชนในต่างประเทศที่ตนเองพักอาศัยอยู่ได้หรือไม

การทำบัตรประชาชนในต่างประเทศ : 4. กรณีไม่เคยทำบัตรประชาชนจะทำในต่างประเทศได้หรือไม่ คนไทยที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศเป็นเวลานานและไม่เคยทำบัตรประจำตัวประชาชนมาก่อน จะทำบัตรประจำตัวประชาชนในต่างประเทศที่ตนเองพักอาศัยอยู่ได้หรือไม

A

ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 24 (พ.ศ. 2555) ออกตามความในพระราชบัญญัติ
บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 กำหนดให้สามารถดำเนินการได้เฉพาะ
"ผู้เคยทำบัตรประจำตัวประชาชนมาแล้วเท่านั้น"

สำหรับผู้ยังไม่เคยทำบัตรมาก่อน ไม่สามารถยื่นคำขอมีบัตรได้ในต่างประเทศ

หากจะทำบัตรต้องมาดำเนินการยื่นคำขอมีบัตรในประเทศไทย

ทั้งนี้ จะต้องจัดเตรียมข้อมูลเอกสาร หลักฐาน ประกอบที่สามารถยืนยันตัวบุคคลได้
พร้อมพยานบุคคล ไปติดต่อขอทำบัตรได้ในท้องที่ที่ตนเองเกิดหรือในท้องที่ที่ตนเอง
มีภูมิลำเนาอยู่ในปัจจุบัน

สาเหตุที่ยังไม่อนุญาตให้ดำเนินการในต่างประเทศได้ เนื่องจากต้องมีการตรวจสอบหลักฐาน
และ/หรือพยานบุคคล รวมทั้งเกี่ยวข้องกับระเบียบ/ข้อกฎหมายหลายข้อที่ต้องดำเนินการ
เพื่อให้แน่นอนว่าการออกบัตรประจำตัวประชาชนนั้นถูกต้องตรงกับบุคคลที่ยื่นขอมีบัตร

 

************************

ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 24 (พ.ศ. 2555) ออกตามความในพระราชบัญญัติ
บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 กำหนดให้สามารถดำเนินการได้เฉพาะ
"ผู้เคยทำบัตรประจำตัวประชาชนมาแล้วเท่านั้น"

สำหรับผู้ยังไม่เคยทำบัตรมาก่อน ไม่สามารถยื่นคำขอมีบัตรได้ในต่างประเทศ

หากจะทำบัตรต้องมาดำเนินการยื่นคำขอมีบัตรในประเทศไทย

ทั้งนี้ จะต้องจัดเตรียมข้อมูลเอกสาร หลักฐาน ประกอบที่สามารถยืนยันตัวบุคคลได้
พร้อมพยานบุคคล ไปติดต่อขอทำบัตรได้ในท้องที่ที่ตนเองเกิดหรือในท้องที่ที่ตนเอง
มีภูมิลำเนาอยู่ในปัจจุบัน

สาเหตุที่ยังไม่อนุญาตให้ดำเนินการในต่างประเทศได้ เนื่องจากต้องมีการตรวจสอบหลักฐาน
และ/หรือพยานบุคคล รวมทั้งเกี่ยวข้องกับระเบียบ/ข้อกฎหมายหลายข้อที่ต้องดำเนินการ
เพื่อให้แน่นอนว่าการออกบัตรประจำตัวประชาชนนั้นถูกต้องตรงกับบุคคลที่ยื่นขอมีบัตร

 

************************

Q

การทำบัตรประชาชนในต่างประเทศ : 3. อายุการใช้งานบัตรประชาชน บัตรประจำตัวประชาชนที่ทำในต่างประเทศและที่ทำในประเทศไทย มีลักษณะตัวบัตรและมีระยะเวลาหมดอายุของบัตรเหมือนกันหรือไม่ อย่างไร

การทำบัตรประชาชนในต่างประเทศ : 3. อายุการใช้งานบัตรประชาชน บัตรประจำตัวประชาชนที่ทำในต่างประเทศและที่ทำในประเทศไทย มีลักษณะตัวบัตรและมีระยะเวลาหมดอายุของบัตรเหมือนกันหรือไม่ อย่างไร

A

- ตัวบัตรประจำตัวประชาชนไม่ว่าจะเป็นขนาด สี ลักษณะของบัตร หรือการพิมพ์
  รายการข้อมูลในบัตรเหมือนกับบัตรประจำตัวประชาชนที่ทำในประเทศไทยทุกประการ

- ระยะเวลาหมดอายุของบัตรก็เหมือนกัน คือ มีอายุแปดปี นับแต่วันออกบัตร

- ทั้งนี้ เป็นไปตามที่พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526
  และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกำหนดไว้

- ตัวบัตรประจำตัวประชาชนไม่ว่าจะเป็นขนาด สี ลักษณะของบัตร หรือการพิมพ์
  รายการข้อมูลในบัตรเหมือนกับบัตรประจำตัวประชาชนที่ทำในประเทศไทยทุกประการ

- ระยะเวลาหมดอายุของบัตรก็เหมือนกัน คือ มีอายุแปดปี นับแต่วันออกบัตร

- ทั้งนี้ เป็นไปตามที่พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526
  และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกำหนดไว้

Q

การทำบัตรประชาชนในต่างประเทศ : 2. อัตราค่าธรรมเนียม การเรียกเก็บและอัตราค่าธรรมเนียมในการทำบัตรประจำตัวประชาชนว่ามีข้อกำหนดเช่นไร อัตราค่าธรรมเนียมการทำบัตรในประเทศและในต่างประเทศเท่ากันหรือไม่อย่างไร

การทำบัตรประชาชนในต่างประเทศ : 2. อัตราค่าธรรมเนียม การเรียกเก็บและอัตราค่าธรรมเนียมในการทำบัตรประจำตัวประชาชนว่ามีข้อกำหนดเช่นไร อัตราค่าธรรมเนียมการทำบัตรในประเทศและในต่างประเทศเท่ากันหรือไม่อย่างไร

A

การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนนั้นเป็นไป
ตามที่กฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมและยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับบัตรประจำตัวประชาชน
พ.ศ. 2555 กำหนดไว้ ได้แก่

- การออกบัตรในกรณีบัตรหายหรือถูกทำลาย
- บัตรชำรุด หรือแก้ไขชื่อตัว ชื่อสกุล
- แก้ไขชื่อตัวและชื่อสกุลในทะเบียนบ้านหรือย้ายที่อยู่ (ตามมาตรา 6 จัตวา)

ให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียม ฉบับละ 100 บาท
ไม่ว่าจะทำบัตรในประเทศหรือต่างประเทศก็เรียกเก็บค่าธรรมเนียมในอัตราที่เท่ากัน

ทั้งนี้ กรมการปกครองอยู่ระหว่างดำเนินการปรับปรุงกฎกระทรวงในเรื่องดังกล่าว
ให้เกิดความสอดคล้องกับเงื่อนไขและภาวการณ์ในปัจจุบัน

ดังนั้น ในขณะนี้ สถานเอกอัคราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ จะกำหนดอัตราที่เหมาะสม
ให้ใกล้เคียงกับอัตรา 100 บาท 

เพื่อความสะดวกในการจัดเก็บในเรื่องเงินทอน โดยรายได้จะโอนเข้าเป็นเงินงบประมาณแผ่นดิน  
อัตราค่าธรรมเนียมที่จัดเก็บในปัจจุบัน ถือเป็นอัตราที่ต่ำเมื่อเทียบกับต้นทุนค่าวัสดุผลิตบัตร
ที่มีต้นทุนเฉลี่ยประมาณ 150 บาทต่อใบ

 

การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนนั้นเป็นไป
ตามที่กฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมและยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับบัตรประจำตัวประชาชน
พ.ศ. 2555 กำหนดไว้ ได้แก่

- การออกบัตรในกรณีบัตรหายหรือถูกทำลาย
- บัตรชำรุด หรือแก้ไขชื่อตัว ชื่อสกุล
- แก้ไขชื่อตัวและชื่อสกุลในทะเบียนบ้านหรือย้ายที่อยู่ (ตามมาตรา 6 จัตวา)

ให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียม ฉบับละ 100 บาท
ไม่ว่าจะทำบัตรในประเทศหรือต่างประเทศก็เรียกเก็บค่าธรรมเนียมในอัตราที่เท่ากัน

ทั้งนี้ กรมการปกครองอยู่ระหว่างดำเนินการปรับปรุงกฎกระทรวงในเรื่องดังกล่าว
ให้เกิดความสอดคล้องกับเงื่อนไขและภาวการณ์ในปัจจุบัน

ดังนั้น ในขณะนี้ สถานเอกอัคราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ จะกำหนดอัตราที่เหมาะสม
ให้ใกล้เคียงกับอัตรา 100 บาท 

เพื่อความสะดวกในการจัดเก็บในเรื่องเงินทอน โดยรายได้จะโอนเข้าเป็นเงินงบประมาณแผ่นดิน  
อัตราค่าธรรมเนียมที่จัดเก็บในปัจจุบัน ถือเป็นอัตราที่ต่ำเมื่อเทียบกับต้นทุนค่าวัสดุผลิตบัตร
ที่มีต้นทุนเฉลี่ยประมาณ 150 บาทต่อใบ

 

Q

การทำบัตรประชาชนในต่างประเทศ : 1. ประเทศที่สามารถขอทำบัตรประชาชนไทยในต่างประเทศ

การทำบัตรประชาชนในต่างประเทศ : 1. ประเทศที่สามารถขอทำบัตรประชาชนไทยในต่างประเทศ

A

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ